วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (โอรสสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)


สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งราชจักรีวงศ์ พระบรมราชสมภพเมื่อ วันอังคาร
เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีฉลู ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๙ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ ๑ ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. ๒๔๑๑) รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๔๒ ปี
เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน ๑๑ แรม ๔ ค่ำ ปีจอ (๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา
พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบถึงความเป็นอยู่ที่แท้จริงของ
ราษฎร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยมหาราช และมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ต่อมาภายหลังในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเจ้านายฝ่ายในให้ถูกต้องชัดเจนตามโบราณราชประเพณีนิยมยุคถัดมาเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชวรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร
สิริวัฒนราชกุมาร
พระองค์ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2404 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ได้รับการสถาปนาให้ขึ้นทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ และเมื่อ พ.ศ. 2409 พระองค์ทรงผนวชตามราชประเพณี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังจากการทรงผนวช พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อปี พ.ศ. 2410 โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังทรงเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา โดยก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคตนั้น ได้มีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า "พระราชดำริทรงเห็นว่า เจ้านายซึ่งจะสืบ
พระราชวงศ์ต่อไปภายหน้า พระเจ้าน้องยาเธอก็ได้ พระเจ้าลูกยาเธอก็ได้ พระเจ้าหลานเธอก็ได้ ให้ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ปรึกษากันจงพร้อม
สุดแล้วแต่จะเห็นดีพร้อมกันเถิด ท่านผู้ใดมีปรีชาควรจะรักษาแผ่นดินได้ก็ให้เลือกดูตามสมควร" ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เสด็จสวรคต จึงได้มีการประชุมปรึกษาเรื่องการถวายสิริราชสมบัติแด่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ซึ่งในที่ประชุมนั้นประกอบด้วยพระบรม
วงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ได้เสนอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬา
ลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งที่ประชุมนั้นมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ดังนั้น พระองค์จึงได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดา โดยใน
ขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์
จะทรงมีพระชนมพรรษครบ 20 พรรษา โดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า
"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตร
โสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณ
อดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต
มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม
บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล
มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว"
เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา จึงทรงลาผนวชเป็นพระภิกษุ และได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16
พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว
 โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า
"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตร
โสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลย
วิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต
มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร
สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม
บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล
มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระวักกะ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 2.45 นาฬิกา รวมพระชนมายุ
ได้ 58 พรรษา

พระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 5

พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๖.๘ ซ.ม. โดยมีตรา
พระเกี้ยว หรือ พระจุลมงกุฏ ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง ๒ ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า ๒ ชั้น ทางด้าน
ซ้ายวางสมุดตำรา และทางด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์เพชร โดยพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นการเจริญรอยจำลองมาจากพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการสร้างพระลัญจกรประจำพระองค์นั้น จะใช้แนวคิดจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "จุฬาลงกรณ์"
ซึ่งแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ หรือ จุลมงกุฎ ดังนั้น จึงเลือกใช้ พระเกี้ยว หรือ จุลมงกุฎ มาใช้เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระมเหสี พระราชินี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมเหสี และ เจ้าจอม รวมทั้งหมด ๙๒ พระองค์ โดย ๓๖ พระองค์มีพระราชโอรส-ธิดา
อีก ๕๖ พระองค์ไม่มี และพระองค์ทรงมีพระราชโอรส-ธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๗ พระองค์

พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ ๕ ได้แก่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
และจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถ
ปฏิบัติการในศาสนาได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีมีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท
ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล จังหวัดและอำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา
ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์ ที่สำคัญ

การเสียดินแดน

การเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส

  • ครั้งที่ ๑ เสียเขตแดนเขมรส่วนนอก เนื้อที่ประมาณ ๑๒๓,๐๕๐ ตารางกิโลเมตร และเกาะอีก ๖ เกาะ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๑๐
  • ครั้งที่ ๒ เสียอาณาจักรล้านช้าง (หรือหัวเมืองลาว) โดยยึดเอาดินแดนสิบสองจุไทย และได้อ้างว่าดินแดนหลวงพระบาง เวียงจันทน์
    และนครจำปาศักดิ์ เคยเป็นประเทศราชของญวนและเขมรมาก่อน จึงบีบบังคับเอาดินแดนเพิ่มอีก เนื้อที่ประมาณ ๓๒๑,๐๐๐ ตาราง
    กิโลเมตร วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๔๓๑ ฝรั่งเศสข่มเหงไทยอย่างรุนแรงโดยส่งเรือรบล่วงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงป้อมพระจุลจอม
    เกล้า ฝ่ายไทยยิงปืนไม่บรรจุกระสุน ๓ นัดเพื่อเตือนให้ออกไป แต่ทางฝรั่งเศสกลับระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาเป็นอันมาก เกิดการรบกันพัก
    หนึ่ง ในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ฝรั่งเศสนำเรือรบมาทอดสมอ หน้าสถานทูตของตนในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ (ทั้งนี้ประเทศอังกฤษ
    ได้ส่งเรือรบเข้ามาลอยลำอยู่ ๒ ลำ ที่อ่าวไทยเช่นกัน แต่มิได้ช่วยปกป้องไทยแต่อย่างใด) ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทย ๓ ข้อ ให้ตอบใน
    ๔๘ ชั่วโมง เนื้อหา คือ

    • ให้ไทยใช้ค่าเสียหายสามล้านแฟรงค์ โดยจ่ายเป็นเหรียญนกจากเงินถุงแดง พร้อมส่งเช็คให้สถานทูตฝรั่งเศสแถวบางรัก
    • ให้ยกดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ ในแม่น้ำด้วย
    • ให้ถอนทัพไทยจากฝั่งแม่น้ำโขงออกให้หมดและไม่สร้างสถานที่สำหรับการทหาร ในระยะ ๒๕ กิโลเมตร ทางฝ่ายไทยไม่ยอมรับ
      ในข้อ 2 ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพมาปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม - ๓ สิงหาคม ๒๔๓๖ และยึดเอาจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัด
      ตราดไว้ เพื่อบังคับให้ไทยทำตาม
  • ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ ๕๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส ในวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ และฝรั่งเศสได้ยึดเอาจันทบุรีกับตราด
    ไว้ต่ออีก นานถึง ๑๑ ปี (พ.ศ. ๒๔๓๖ - พ.ศ. ๒๔๔๗)
  • ปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ไทยต้องทำสัญญายกดินแดนให้ฝรั่งเศสอีก คือ ยกจังหวัดตราดและเกาะใต้แหลมสิงห์ลงไป (มีเกาะช้างเป็นต้น) ไปถึง
    ประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) ดังนั้นฝรั่งเศสจึงถอนกำลังจากจันทบุรีไปตั้งที่ตราด ในปี พ.ศ. ๒๔๔๗
  • วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ ไทยต้องยกดินแดนมณฑลบูรพา คือเขมรส่วนใน ได้แก่เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศสอีก
    ฝรั่งเศสจึงคืนจังหวัดตราดให้ไทย รวมถึงเกาะทั้งหลายจนถึงเกาะกูด
รวมแล้วในคราวนี้ ไทยเสียเนื้อที่ประมาณ ๖๖,๕๕๕ ตารางกิโลเมตร
  • และไทยการเสียดินแดนอีกครั้งทางด้านขวาของแม่น้ำโขง คืออาณาเขตเมืองหลวงพระบาง ในวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๐

การเสียดินแดนให้อังกฤษ

  • เสียดินแดน รัฐไทรบุรี รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู และรัฐปะลิส ให้อังกฤษ เมื่อ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๑ (นับอย่างใหม่ พ.ศ. ๒๔๕๒)
    เพื่อขอกู้เงิน ๔ ล้านปอนด์ทองคำอัตราดอกเบี้ย ๔% ต่อปี มีเวลาชำระหนี้ ๔๐ ปี

เหตุการณ์

  • พ.ศ. ๒๔๑๒
    • เริ่มสร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามซึ่งเป็นวัดประจำพระองค์
  • พ.ศ. ๒๔๑๖
    • เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวาเป็นครั้งแรก
    • ยกเลิกการไว้ผมทรงมหาดไทย
    • เสด็จประพาส อินเดีย (ปลายปี พ.ศ. ๒๔๑๔ ต่อปี พ.ศ. ๒๔๑๕)
  • พ.ศ. ๒๔๑๕
    • เริ่มปรับปรุงการทหารครั้งใหญ่
    • เริ่มใช้เสื้อราชประแตน
  • พ.ศ. ๒๔๑๖
    • ทรงมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา
    • ทรงผนวช
    • โปรดเกล้าฯ ให้เลิกประเพณีหมอบคลาน เวลาเข้าเฝ้า ในวันบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ เมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๑๖
    • โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์
  • พ.ศ. ๒๔๑๗
    • โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน หรือ รัฐมนตรีสภาและองคมนตรีสภา
    • วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๗ ปีจอ ออกพระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาส ลูกไท
    • กำเนิดโรงเรียนสตรีวังหลัง
    • ใช้เงินอัฐกระดาษ แทนเหรียญทองแดง
    • ตั้งพิพิธภัณฑสถาน
  • พ.ศ. ๒๔๑๘
    • สงครามปราบฮ่อ ครั้งแรก
    • เริ่มการโทรเลขครั้งแรกระหว่างกรุงเทพ - สมุทรปราการ
  • พ.ศ. ๒๔๒๔
    • สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ ๑๐๐ ปี
  • พ.ศ. ๒๔๒๕
    • โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
  • พ.ศ. ๒๔๒๖
    • ตั้งกรมไปรษณีย์ เริ่มเปิดบริการไปรษณีย์ครั้งแรกในพระนคร
    • ตั้งกรมโทรเลข
    • สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๒
  • พ.ศ. ๒๔๒๗
    • โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรทั่วๆ ไป ตามวัดต่างๆ เริ่มแห่งแรกที่วัดมหรรณพาราม
  • พ.ศ. ๒๔๒๙
    • โปรดเกล้าฯ ให้เลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
    • ทรงประกาศตั้งตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร ขึ้น และทรงสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เป็นสยามมกุฎราชกุมารเป็นพระองค์แรก
    • สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๓
    • ไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสหภาพไปรษณีย์สากล
  • พ.ศ. ๒๔๓๐
    • ตั้งกรมยุทธนาธิการทหาร (กระทรวงกลาโหม)
    • ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบก เมื่อ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๐
    • ตั้งกระทรวงธรรมการ
    • สงครามปราบฮ่อ ครั้งที่ ๔
  • พ.ศ. ๒๔๓๑
    • ทรงเริ่มการทดลองจัดการปกครองส่วนกลางแผนใหม่
    • เริ่มดำเนินการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นครั้งแรก สำเร็จออกมา ๓๙ เล่ม เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖
    • ใช้รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชในราชการ
    • ตั้งกรมพยาบาล เปิดโรงพยาบาลศิริราช
    • ตราพระราชบัญญัติ เลิกวิธีพิจารณาโทษตามแบบจารีตนครบาล
    • เสียดินแดน แคว้นสิบสองจุไทให้ฝรั่งเศส
  • พ.ศ. ๒๔๓๒
    • เริ่มใช้วันทางสุริยคติในราชการ
  • พ.ศ. ๒๔๓๓
    • เสียฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน ให้กับประเทศอังกฤษ เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ทางด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและทรัพยากร อันอุดมด้วยดินแดนผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ยิ่ง
  • พ.ศ. ๒๔๓๔
    • ตั้งกระทรวงยุติธรรม
    • ตั้งกรมรถไฟ และเริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ - นครราชสีมา
  • พ.ศ. ๒๔๓๕
    • โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕
    • ตั้งศาลโปริสภา (ศาลแขวง)
    • ส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาทหารในยุโรป รุ่นแรก
  • พ.ศ. ๒๔๓๖
    • ให้เอกชนเปิดเดินรถไฟสายปากน้ำ เมื่อ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖
    • ฉลองพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ครั้งแรก
    • ตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัย
    • ตั้งสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย)
    • เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส
  • พ.ศ. ๒๔๓๗
    • ทรงสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นสยามมกุฎราชกุมาร
    • เริ่มจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล
    • ตั้งโรงไฟฟ้า เริ่มกิจการรถราง ไฟฟ้าอย่างแท้จริงแม้จะได้เริ่มการใช้รถรางไฟฟ้าเมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๙๓
      (นับอย่างเก่าต้อง ร.ศ. ๑๑๑ หรือ พ.ศ. ๒๔๓๕) โดยที่เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรเมื่อ ๒๒
      กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๑๑
  • พ.ศ. ๒๔๓๗
    • โปรดเกล้าฯ ให้ข้าหลวงพิเศษไปจัดการศาลตามหัวเมือง
    • จัดทำงบประมาณแผ่นดินครั้งแรก
    • ตั้งโรงเรียนฝึกหัดวิชาแพทย์ และผดุงครรภ์
  • พ.ศ. ๒๔๓๙
    • โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศตั้งโรงเรียนราชวิทยาลัยขึ้นปรากฏรายละเอียดในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 13 หน้า 269 ลงวันที่ 5 เมษายน
      2439 (รศ. ๑๑๕)
    • สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จเปิดโรงเรียนในวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2440 ( รศ.๑๑๖ )
  • พ.ศ. ๒๔๔๐
    • เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ปีระกา
    • ตราข้อบังคับลักษณะปกครองหัวเมือง
    • ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมาย
    • เริ่มการสอบชิงทุนเล่าเรียนหลวงไปเรียนในยุโรป ปีละ ๒ ทุน
  • พ.ศ. ๒๔๔๑
    • ตั้งกรมเสนาธิการทหารบก
    • รวมกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเป็นกรมเดียวกัน
    • กำเนิดเหรียญ "สตางค์" รุ่นแรก โดยใช้ทองขาว (นิกเกิ้ล ราคา ๒๐ สตางค์ ๑๐ สตางค์ ๕ สตางค์ และ ๒ ๑/๒ สตางค์ แต่ไม่เป็นที่
      นิยมเพราะใช้ยาก
  • พ.ศ. ๒๔๔๒
    • เริ่มจัดตั้งกองทหารตามหัวเมือง
    • เริ่มสร้างวัดเบญจมบพิตร
    • ได้พระบรมสารีริกธาตุจากอินเดีย
    • ทำสนธิสัญญากำหนดสิทธิจดทะเบียนคนในบังคับอังกฤษ
  • พ.ศ. ๒๔๔๔
    • ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจที่นครราชสีมา
    • เปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ - นครราชสีมา เมื่อ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๓
    • หล่อพระพุทธชินราชจำลอง
    • บริษัทสยามไฟฟ้า ได้รับสัมปทานจำหน่ายไฟฟ้า เริ่มจุดโคมไฟตามถนนหลวง
    • เกิดกบฎเงี้ยวที่เมืองแพร่ ผีบุญที่อุบลราชธานี และ กบฎแขก ๗ หัวเมืองที่ปัตตานี เพื่อต่อต้านการปกครองแบบเทศาภิบาล
  • พ.ศ. ๒๔๔๕
    • ตั้งกรมธนบัตร เริ่มใช้ธนบัตรครั้งแรก
    • ตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ. ๑๒๑
    • ตั้งสามัคยาจารย์สมาคม
    • ตั้งโอสถศาลา
    • ปราบกบฎเงี้ยวที่เมืองแพร่ ปราบผีบุญอุบลราชธานี และ กบฎแขก ๗ หัวเมืองปัตตานี สำเร็จ และได้มีการปลดเจ้าเมืองแพร่
      เจ้าเมืองปัตตานี หนองจิก รามัน สายบุรี ยะลา ระแงะ ออกจากตำแหน่ง พร้อมส่งไปจองจำเจ้าเมืองปัตตานีในหลุมที่พิษณุโลก
      ภายหลังได้ปล่อยตัวออกไปตามแรงกดดันของอังกฤษ
  • พ.ศ. ๒๔๔๖
    • เปิดการเดินรถไฟหลวงสายใต้ ระหว่างกรุงเทพ-เพชรบุรี เมื่อ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๖
  • พ.ศ. ๒๔๔๗
    • เสียดินแดนทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส ตรงหัวเมืองจำปาศักดิ์ (ตรงข้ามเมืองปากเซ) และ
หัวเมืองไชยบุรี - ปากลาย (ตรงข้ามหลวงพระบาง)
  • พ.ศ. ๒๔๔๘
    • เสด็จประพาสต้นครั้งแรก
    • ทำอนุสัญญากำหนดสิทธิการจดทะเบียนคนในบังคับฝรั่งเศส
  • พ.ศ. ๒๔๔๘
    • ตราพระราชบัญญัติทาส รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔
    • ประกาศให้ลูกทาสเป็นไททั้งหมด ด้วยพระราชบัญญัติลักษณะทาส รัตนโกสินทร์ศก ๑๓๐ ซึ่งตรงกับวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ให้เป็นวันที่ทาสหมดสิ้นจากราชอาณาจักรไทย
    • ตั้งหอสมุดสำหรับพระนคร
    • ตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร ฉบับแรก
    • ทำอนุสัญญากำหนดสิทธิการจดทะเบียนคนในบังคับเดนมาร์ก และอิตาลี
    • ทดลองจัดสุขาภิบาลที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร
  • พ.ศ. ๒๔๔๙
    • เสด็จประพาสต้นครั้งหลัง
    • เปิดโรงเรียนนายเรือ ที่พระราชวังเดิม เมื่อ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๙
    • เสียมณฑลบูรพา (เสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ) ให้ฝรั่งเศส เมื่อ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ เพื่อแลกกับจันทบุรีและด่านซ้ายคืนมา
  • พ.ศ. ๒๔๕๐
    • เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ ๒ ปีมะแม เพื่อรักษาพระโรควักกะพิการ
    • จัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าวครั้งแรก
เปิดการเดินรถไฟหลวง สายกรุงเทพ - ฉะเชิงเทรา เมื่อ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๐ (นับอย่างใหม่ต้อง พ.ศ. ๒๔๕๑)
  • พ.ศ. ๒๔๕๑
    • จัดการสุขาภิบาลตามหัวเมืองทั่วไป
    • ประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. ๑๒๗
    • เลิกใช้เงินพดด้วง
    • ตราพระราชบัญญัติทองคำ ร.ศ. ๑๒๗ ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแบบสากล โดยให้จ่ายเงินตราต่างประเทศทที่ใช้มาตรฐานทองคำแทนการ** ออกเหรียญ ๑๐ บาททองคำตราครุฑ
    • สร้างพระบรมรูปทรงม้า เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ๔๐ ปี วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ตรงกับวันพระราชพิธีรัชมัง
      คลาภิเษก โดยจ้างช่างที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ทำ หล่อด้วยโลหะชนิดทองสัมฤทธิ์นำมา ติดกับทองสัมฤทธิ์เหมือนกัน
      หนาประมาณ ๒๕ เซนติเมตร เป็นที่ม้ายืน โดยส่งเข้ามายังกรุงเทพฯ เมื่อ ปีพ.ศ. ๒๔๕๑ และได้ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อน
      อันเป็นแท่นรอง สูงประมาณ ๖ เมตร กว้าง ๒ เมตรครึ่ง ยาว ๕ เมตร
  • พ.ศ. ๒๔๕๒
    • เลิกใช้เงินเฟื้อง ซีก เสี้ยวอัฐ โสฬส
    • เริ่มกิจการประปา
  • พ.ศ. ๒๔๕๓
    • มีการแสดงกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นครั้งแรก
    • เสด็จสวรรคต เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๑ แรม ๕ ค่ำ ปีจอ ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ เมื่อเวลา ๒ ยาม ๔๕ นาที
      (๐ นาฬิกา ๔๕ นาที) ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ด้วยพระโรควักกะพิการซึ่งแสดงอาการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ - ๒๔๔๘
      พระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา รวมครองราชสมบัติ ๔๒ ปี

พระราชนิพนธ์

ทรงมีพระราชนิพนธ์ ทั้งหมด 10 เรื่อง
  • ไกลบ้าน
  • เงาะป่า
  • นิทราชาคริต
  • อาบูหะซัน
  • พระราชพิธีสิบสองเดือน
  • กาพย์เห่เรือ
  • คำเจรจาละครเรื่องอิเหนา
  • ตำรากับข้าวฝรั่ง
  • พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี
  • โคลงบรรยายภาพรามเกียรติ์

ที่มา: www.royjaithai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น