พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศมหิศเรศรังสรรค์ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระอนุชาของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔
ทรงได้รับพระบวรราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระมหาอุปราช) หรือที่ออกพระนามกันว่า "วังหน้า" มีพระเกียรติยศเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ 2 เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๔
เมื่อทรงมีพระชนมพรรษาได้ ๔๓ พรรษา มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศ รังสรรค์ มหรรต วรรคโชไชย
มโหฬารคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บวรจักรพรรดิราช บวรนาถบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงได้รับพระบวรราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (พระมหาอุปราช) หรือที่ออกพระนามกันว่า "วังหน้า" มีพระเกียรติยศเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่ 2 เสมอด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๙๔
เมื่อทรงมีพระชนมพรรษาได้ ๔๓ พรรษา มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระปวเรนทราเมศ มหิศเรศ รังสรรค์ มหรรต วรรคโชไชย
มโหฬารคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บวรจักรพรรดิราช บวรนาถบพิตร พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 4 กันยายนพ.ศ. 2351 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 50
ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นโอรสองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฑามณี
หรือเป็นที่รู้จักอย่างดีคือ เจ้าฟ้าน้อย พระองค์ทรงเป็นพระอนุชาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเป็นโอรสองค์ที่ 3 ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฑามณี
หรือเป็นที่รู้จักอย่างดีคือ เจ้าฟ้าน้อย พระองค์ทรงเป็นพระอนุชาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขณะยังทรงพระเยาว์
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฑามณี เป็นที่รู้จักกันในพระนามว่า เจ้าฟ้าน้อย เป็น พระราชโอรสลำดับที่ 50
และเป็นพระราชกุมารลำดับที่ 27 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 กับ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพ
เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2351 ประสูติที่พระราชวังเดิม คลองบางกอกใหญ่และมีคุณหญิงนก
ไม่ทราบนามสกุล เป็นพระพี่เลี้ยงในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
และเป็นพระราชกุมารลำดับที่ 27 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 กับ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ทรงพระราชสมภพ
เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 10 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2351 ประสูติที่พระราชวังเดิม คลองบางกอกใหญ่และมีคุณหญิงนก
ไม่ทราบนามสกุล เป็นพระพี่เลี้ยงในสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้เข้ารับราชการในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ปรากฏว่ามีความชอบในราชการ และทรง
ได้รับการแต่งตั้งให้ทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 (พระชนมายุ 24 พรรษา)
ได้รับการแต่งตั้งให้ทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 (พระชนมายุ 24 พรรษา)
นับย้อนไปในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี สืบมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์นั้น พระเจ้าแผ่นดินมักจะทรงสถาปนาให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ที่เกิดจากพระอัครมเหสี เป็นพระมหาอุปราช ซึ่งจะทรงดำรงตำแหน่งเป็น พระเจ้าแผ่นดินต่อจากพระองค์ แต่บางรัชกาลก็ทรงแต่งตั้ง
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอที่มีความชอบต่อแผ่นดินขึ้นเป็น พระมหาอุปราช (เรียกในราชการว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า)
และตามหลักฐานเท่าที่มีปรากฏใน พระราชพงศาวดารของไทยเรา การที่พระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งพระอนุชาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่สอง นั้น
มีเฉพาะ สมัยกรุงศรีอยุธยา คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถเท่านั้น ก่อนที่จะมาถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา พระเจ้าน้องยาเธอไว้ในตำแหน่งพระมหาอุปราช
และให้มีพระราชอิสริยยศเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดินนั้น มีหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่สำคัญเป็นเพราะพระปรีชาสามารถในหลาย ๆ ด้านของพระมหาอุปราช
พระองค์นี้ที่ได้เป็นกำลังสำคัญของชาติ
เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ที่เกิดจากพระอัครมเหสี เป็นพระมหาอุปราช ซึ่งจะทรงดำรงตำแหน่งเป็น พระเจ้าแผ่นดินต่อจากพระองค์ แต่บางรัชกาลก็ทรงแต่งตั้ง
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอที่มีความชอบต่อแผ่นดินขึ้นเป็น พระมหาอุปราช (เรียกในราชการว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า)
และตามหลักฐานเท่าที่มีปรากฏใน พระราชพงศาวดารของไทยเรา การที่พระเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งพระอนุชาขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ที่สอง นั้น
มีเฉพาะ สมัยกรุงศรีอยุธยา คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถเท่านั้น ก่อนที่จะมาถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา พระเจ้าน้องยาเธอไว้ในตำแหน่งพระมหาอุปราช
และให้มีพระราชอิสริยยศเทียบเท่าพระเจ้าแผ่นดินนั้น มีหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่สำคัญเป็นเพราะพระปรีชาสามารถในหลาย ๆ ด้านของพระมหาอุปราช
พระองค์นี้ที่ได้เป็นกำลังสำคัญของชาติ
ตั้งแต่เมื่อครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกิจการที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ โดยเฉพาะพวกฝรั่งชาว ตะวันตก และพร้อมกับเป็นพระกำลัง
ที่สำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ทรงเข้าร่วมการเจรจาทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับต่าง
ประเทศ เช่น สนธิสัญญาเบาริง ซึ่งเป็นสนธิสัญญา ที่มีชื่อเสียงโด่งดังกับราชทูตประเทศอังกฤษ พระเกียรติยศชื่อเสียงในด้านความรอบรู้
ของใต้ฝ่าละอองธุลี พระบาทในภาษา หลายภาษา และในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นสูงหลายวิชา ซึ่งทรงรอบรู้ผิดไปจากคนในหมู่ชาติตะวันออกมาก
ซึ่งก็ได้แพร่สะพัดถึงสหรัฐอเมริกา ด้วยทรงทราบชื่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทุกคนด้วย
ที่สำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ทรงเข้าร่วมการเจรจาทำสัญญาทางพระราชไมตรีกับต่าง
ประเทศ เช่น สนธิสัญญาเบาริง ซึ่งเป็นสนธิสัญญา ที่มีชื่อเสียงโด่งดังกับราชทูตประเทศอังกฤษ พระเกียรติยศชื่อเสียงในด้านความรอบรู้
ของใต้ฝ่าละอองธุลี พระบาทในภาษา หลายภาษา และในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นสูงหลายวิชา ซึ่งทรงรอบรู้ผิดไปจากคนในหมู่ชาติตะวันออกมาก
ซึ่งก็ได้แพร่สะพัดถึงสหรัฐอเมริกา ด้วยทรงทราบชื่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาทุกคนด้วย
พระราชอัชฌาสัยและพระปรีชาสามารถ
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชอัธยาศัยต่างจากพระเชษฐามาก เพราะฝ่ายแรกชอบสนุกเฮฮา ไม่มีพิธีรีตองอะไร ส่วนฝ่ายหลัง
ค่อนข้างเงียบขรึม ฉะนั้นจึงมักโปรดในสิ่งที่ไม่ค่อยจะตรงกันนัก แต่ถ้าเป็นความสนิทสนมส่วนพระองค์แล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจาอยู่หัว
เมื่อทรงทำอะไรก็มักนึกถึงพระราชอนุชาอยู่เสมอ เช่น คราวหนึ่งเสด็จขึ้นไปปิดทองพระพุทธรูปใหญ่วัดพนัญเชิง ก็ทรงปิดเฉพาะพระพักตร์
เว้นพระศอไว้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงปิดต่อ นอกจากนี้ทั้ง 2 พระองค์ ก็ทรงล้อเลียนกันอย่างไม่ถือพระองค์
และส่วนมากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จะเป็นฝ่ายเย้าแหย่มากกว่า
ค่อนข้างเงียบขรึม ฉะนั้นจึงมักโปรดในสิ่งที่ไม่ค่อยจะตรงกันนัก แต่ถ้าเป็นความสนิทสนมส่วนพระองค์แล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจาอยู่หัว
เมื่อทรงทำอะไรก็มักนึกถึงพระราชอนุชาอยู่เสมอ เช่น คราวหนึ่งเสด็จขึ้นไปปิดทองพระพุทธรูปใหญ่วัดพนัญเชิง ก็ทรงปิดเฉพาะพระพักตร์
เว้นพระศอไว้พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงปิดต่อ นอกจากนี้ทั้ง 2 พระองค์ ก็ทรงล้อเลียนกันอย่างไม่ถือพระองค์
และส่วนมากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จะเป็นฝ่ายเย้าแหย่มากกว่า
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงพระปรีชาสามารถมาก ทรงรอบรู้งานใน ด้านต่าง ๆ มากมาย เช่น งานด้านกองทัพบก กองทัพเรือ ด้านต่างประเทศ
วิชาช่างจักรกล และวิชาการปืนใหญ่ ทรงรอบรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีจนสามารถที่จะทรงเขียนโต้ตอบจดหมายเป็นภาษาอังกฤษ กับ เซอร์ จอห์น เบาริง
ราชทูตอังกฤษ ที่เดินทางมาเจริญพระราชไมตรีกับประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ซึ่งข้อความในสนธิสัญญานั้น ถ้าเอ่ยถึง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จะมีคำกำกับว่า The First King ส่วนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ จะมีคำกำกับว่า The Second King สำหรับในภาษา
ไทยนั้น ตามสนธิสัญญา ทางไมตรีกับประเทศอังกฤษ ในบทภาค ภาษาไทยจะแปลคำว่า The First King ว่า พระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์เอก
ส่วนคำว่า The Second King นั้นจะแปลว่า พระเจ้าประเทศสยามพระองค์ที่ 2 พระบาทสมเด็จประปิ่นเกล้า ฯ มีพระนามปรากฏอยู่ในประกาศ
ในอารัมภบทให้ดำเนินการเจรจาทำสนธิสัญญาฉบับนี้ด้วย ในฐานะพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 คู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ พระองค์มีสาย
พระเนตรที่กว้างไกล ในด้านการ ต่างประเทศ ทรงรอบรู้ข่าวสารในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างดี ทรงทราบพระราชหฤทัยดีว่า ถ้าหากทรง
ดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวแล้วไซร้ ไทยเราจะเสียประโยชน์ ส่วนบรรดาฝรั่งที่รู้จักมักคุ้นกับวังหน้ามักจะยกย่องชมเชยว่า ทรงเป็นสุภาพบุรุษเพราะ
พระองค์มีพระนิสัยสุภาพ โดยเฉพาะกับพระราชชนนี กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ด้วยแล้ว ทรงแสดงความเคารพเกรงกลัวเป็นอันมาก
วิชาช่างจักรกล และวิชาการปืนใหญ่ ทรงรอบรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดีจนสามารถที่จะทรงเขียนโต้ตอบจดหมายเป็นภาษาอังกฤษ กับ เซอร์ จอห์น เบาริง
ราชทูตอังกฤษ ที่เดินทางมาเจริญพระราชไมตรีกับประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ซึ่งข้อความในสนธิสัญญานั้น ถ้าเอ่ยถึง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ จะมีคำกำกับว่า The First King ส่วนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ จะมีคำกำกับว่า The Second King สำหรับในภาษา
ไทยนั้น ตามสนธิสัญญา ทางไมตรีกับประเทศอังกฤษ ในบทภาค ภาษาไทยจะแปลคำว่า The First King ว่า พระเจ้าแผ่นดินสยามพระองค์เอก
ส่วนคำว่า The Second King นั้นจะแปลว่า พระเจ้าประเทศสยามพระองค์ที่ 2 พระบาทสมเด็จประปิ่นเกล้า ฯ มีพระนามปรากฏอยู่ในประกาศ
ในอารัมภบทให้ดำเนินการเจรจาทำสนธิสัญญาฉบับนี้ด้วย ในฐานะพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 คู่กับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ พระองค์มีสาย
พระเนตรที่กว้างไกล ในด้านการ ต่างประเทศ ทรงรอบรู้ข่าวสารในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างดี ทรงทราบพระราชหฤทัยดีว่า ถ้าหากทรง
ดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวแล้วไซร้ ไทยเราจะเสียประโยชน์ ส่วนบรรดาฝรั่งที่รู้จักมักคุ้นกับวังหน้ามักจะยกย่องชมเชยว่า ทรงเป็นสุภาพบุรุษเพราะ
พระองค์มีพระนิสัยสุภาพ โดยเฉพาะกับพระราชชนนี กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ด้วยแล้ว ทรงแสดงความเคารพเกรงกลัวเป็นอันมาก
นอกจากนี้ทรงโปรดการท่องเที่ยวไปตามหัวบ้านหัวเมือง ทั้งเหนือและใต้ สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะมีพระอาการประชวรกระเสาะกระแสะอยู่เสมอ
จึงต้องเสด็จไปเที่ยวรักษาพระองค์ตามหัวเมือง อยู่เนือง ๆ กล่าวกันว่า มักเสด็จไปประทับตามถิ่น ที่มีบ้านลาว เสด็จไปประทับที่บ้านสัมปะทวน
แขวงนครไชยศรีบ้าง ทางเมืองพนัสนิคมบ้าง แต่เสด็จไปประทับที่ตำหนัก บ้านสีทา จังหวัดสระบุรีเสียโดยมาก แต่แท้ที่จริงแล้ว พระบาทสมเด็จ
พระปิ่นเกล้า ฯ ได้เคยเสด็จไปเที่ยวประพาสตามหัวเมือง ต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งยังดำรงพระยศเป็น เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิสเรศรังสรรค์แล้ว
เพราะทรงประจักษ์แจ้งแก่พระปรีชาญาณว่า การเสด็จประพาสหัวเมืองเป็นประโยชน์แก่ราชการบ้านเมือง ด้วยสามารถทรงทราบทุกข์สุขของไพร่ฟ้า
ประชาชนได้เป็น อย่างดีซึ่งดีกว่ารายงานในกระดาษมากนัก
จึงต้องเสด็จไปเที่ยวรักษาพระองค์ตามหัวเมือง อยู่เนือง ๆ กล่าวกันว่า มักเสด็จไปประทับตามถิ่น ที่มีบ้านลาว เสด็จไปประทับที่บ้านสัมปะทวน
แขวงนครไชยศรีบ้าง ทางเมืองพนัสนิคมบ้าง แต่เสด็จไปประทับที่ตำหนัก บ้านสีทา จังหวัดสระบุรีเสียโดยมาก แต่แท้ที่จริงแล้ว พระบาทสมเด็จ
พระปิ่นเกล้า ฯ ได้เคยเสด็จไปเที่ยวประพาสตามหัวเมือง ต่างๆ มาตั้งแต่ครั้งยังดำรงพระยศเป็น เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิสเรศรังสรรค์แล้ว
เพราะทรงประจักษ์แจ้งแก่พระปรีชาญาณว่า การเสด็จประพาสหัวเมืองเป็นประโยชน์แก่ราชการบ้านเมือง ด้วยสามารถทรงทราบทุกข์สุขของไพร่ฟ้า
ประชาชนได้เป็น อย่างดีซึ่งดีกว่ารายงานในกระดาษมากนัก
สวรรคต
หลังจากพระราชพิธีบวรราชาภิเษกแล้ว ๑๐ ปี พระองค์ก็เริ่มทรงพระประชวรบ่อยครั้ง หาสมุฏฐานของพระโรคไม่ได้ เสด็จสู่สวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๒
แรม ๖ ค่ำ เวลาเช้าย่ำรุ่ง ตรงกับ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๘ พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา ทรงอยู่ในอุปราชาภิเษกสมบัติทั้งสิ้น ๑๕ พรรษา
แรม ๖ ค่ำ เวลาเช้าย่ำรุ่ง ตรงกับ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๘ พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา ทรงอยู่ในอุปราชาภิเษกสมบัติทั้งสิ้น ๑๕ พรรษา
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ กับการทหารเรือ
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงใฝ่พระราชหฤทัยในวิชาการด้านจักรกลมาก และเพราะเหตุที่พระองค์โปรดการทหาร จึงทรงสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับ
อาวุธยุทธภัณฑ์เป็นพิเศษ เท่าที่ค้นพบพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ นั้น ก็มักจะ ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร และเป็นเครื่องแบบทหารเรือด้วย
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่มีการบันทึกพระราชประวัติ ในส่วนที่ทรงสร้างหรือวางแผนงานเกี่ยวกับ กิจการทหารใด ๆ ไว้บ้างเลย แม้ในพระราชพงศาวดาร
หรือในจดหมายเหตุต่าง ๆ ก็ ไม่มีการบันทึกผลงานพระราชประวัติใน ส่วนนี้ไว้เลย และแม้พระองค์เองก็ไม่โปรดการบันทึก ไม่มีพระราชหัตถเลขา
หรือมีแต่ไม่มีใครเอาใจใส่ทอดทิ้ง หรือทำลายก็ ไม่อาจทราบได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีงานเด่น ที่มีหลักฐานทั้งของฝรั่ง และไทย กล่าวไว้ แม้จะน้อยนิดแต่ก็แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มที่ ล้ำหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน
อาวุธยุทธภัณฑ์เป็นพิเศษ เท่าที่ค้นพบพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ นั้น ก็มักจะ ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบทหาร และเป็นเครื่องแบบทหารเรือด้วย
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่มีการบันทึกพระราชประวัติ ในส่วนที่ทรงสร้างหรือวางแผนงานเกี่ยวกับ กิจการทหารใด ๆ ไว้บ้างเลย แม้ในพระราชพงศาวดาร
หรือในจดหมายเหตุต่าง ๆ ก็ ไม่มีการบันทึกผลงานพระราชประวัติใน ส่วนนี้ไว้เลย และแม้พระองค์เองก็ไม่โปรดการบันทึก ไม่มีพระราชหัตถเลขา
หรือมีแต่ไม่มีใครเอาใจใส่ทอดทิ้ง หรือทำลายก็ ไม่อาจทราบได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีงานเด่น ที่มีหลักฐานทั้งของฝรั่ง และไทย กล่าวไว้ แม้จะน้อยนิดแต่ก็แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มที่ ล้ำหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน
ผลงานนั้นคือการทหารเรือ การทหารเรือ ของไทยเรานั้น เริ่มมีเค้าเปลี่ยนจากสมัยโบราณเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ 3 และผู้ที่เป็นกำลังสำคัญ
ในกิจการด้านทหารเรือในสมัยนั้น คือ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และ จมื่นไวยวรนาถ (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ : ช่วง บุนนาค)
ด้วยทั้ง 2 ท่านนี้มีความรู้ในวิชาการต่อเรือในสมัยนั้น เป็นอย่างดี จึงได้รับหน้าที่ปกครอง บังคับบัญชาการทหารเรือในสมัยนั้น
ในกิจการด้านทหารเรือในสมัยนั้น คือ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ และ จมื่นไวยวรนาถ (สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ : ช่วง บุนนาค)
ด้วยทั้ง 2 ท่านนี้มีความรู้ในวิชาการต่อเรือในสมัยนั้น เป็นอย่างดี จึงได้รับหน้าที่ปกครอง บังคับบัญชาการทหารเรือในสมัยนั้น
ต่อมาได้แบ่งหน้าที่กันโดยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ ทรงบังคับบัญชาทหารเรือ วังหน้า ส่วนทหารเรือบ้านสมเด็จอยู่ในปกครองบังคับบัญชา
ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในยามปกติทั้ง 2 ฝ่าย นี้ ไม่ขึ้นแก่กันแต่ขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ
ทรงฝึกฝนทหารของพระองค์ โดยใช้ทั้งความรู้และความสามารถ และ ยังทรงมุ่งพระราชหฤทัยในเรื่องการค้าขายให้มีกำไร สู่แผ่นดินด้วยมิใช่สร้าง
แต่เรือรบเพราะได้ทรงสร้างเรือเดินทะเล เพื่อการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ได้ทรงนำเอาวิทยาการ สมัยใหม่ของยุโรป
มาใช้ฝึกทหารให้มีสมรรถภาพเป็นอย่างดี ทรงให้ร้อยเอก น็อกส์ (Thomas George Knox) เป็นครูฝึกทหารวังหน้า ทำให้ทหารไทยได้รับวิทยาการ
อันทันสมัยตามแบบ ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป
ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ในยามปกติทั้ง 2 ฝ่าย นี้ ไม่ขึ้นแก่กันแต่ขึ้นตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ
ทรงฝึกฝนทหารของพระองค์ โดยใช้ทั้งความรู้และความสามารถ และ ยังทรงมุ่งพระราชหฤทัยในเรื่องการค้าขายให้มีกำไร สู่แผ่นดินด้วยมิใช่สร้าง
แต่เรือรบเพราะได้ทรงสร้างเรือเดินทะเล เพื่อการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้พระองค์ได้ทรงนำเอาวิทยาการ สมัยใหม่ของยุโรป
มาใช้ฝึกทหารให้มีสมรรถภาพเป็นอย่างดี ทรงให้ร้อยเอก น็อกส์ (Thomas George Knox) เป็นครูฝึกทหารวังหน้า ทำให้ทหารไทยได้รับวิทยาการ
อันทันสมัยตามแบบ ทหารเกณฑ์หัดอย่างยุโรป
การฝึกหัดใช้คำบอกทหารเป็น ภาษาอังกฤษทั้งหมดเริ่มมีเรือรบกลไฟเป็นครั้งแรก ชื่อเรืออาสาวดีรส3 และเรือยงยศอโยชฌิยา4 (หรือยงยศอโยธยา)
ซึ่งเมื่อครั้งเรือยงยศอโยชฌิยา ได้เดินทางไปราชการที่สิงคโปร์ ก็ได้รับคำชมเชยจากต่างประเทศเป็นอันมาก ว่าพระองค์มี พระปรีชาสามารถทรงต่อเรือได้
และการเดินทางในครั้งนั้นเท่ากับเป็นการไปอวดธงไทยในต่างประเทศ ธงไทยได้ถูกชัก ขึ้นคู่กับธงอังกฤษ ที่ฟอร์ทแคนนิ่งด้วย และแม้พระเจ้าลูกยาเธอ
หลายพระองค์ก็ทรงโปรด ฯ ให้เป็นทหารเรือเช่นกัน ประวัติของเรือที่พระองค์ทรงมีใช้ในสมัยนั้น ตามที่พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์
ได้รายงานเล่าไว้ในหนังสือ ประวัติทหารเรือไทย มีดังนี้
ซึ่งเมื่อครั้งเรือยงยศอโยชฌิยา ได้เดินทางไปราชการที่สิงคโปร์ ก็ได้รับคำชมเชยจากต่างประเทศเป็นอันมาก ว่าพระองค์มี พระปรีชาสามารถทรงต่อเรือได้
และการเดินทางในครั้งนั้นเท่ากับเป็นการไปอวดธงไทยในต่างประเทศ ธงไทยได้ถูกชัก ขึ้นคู่กับธงอังกฤษ ที่ฟอร์ทแคนนิ่งด้วย และแม้พระเจ้าลูกยาเธอ
หลายพระองค์ก็ทรงโปรด ฯ ให้เป็นทหารเรือเช่นกัน ประวัติของเรือที่พระองค์ทรงมีใช้ในสมัยนั้น ตามที่พลเรือตรี แชน ปัจจุสานนท์
ได้รายงานเล่าไว้ในหนังสือ ประวัติทหารเรือไทย มีดังนี้
- เรือพุทธอำนาจ (Fairy) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2379 เป็นเรือชนิดบาร์ก (Barque) ขนาด 200 ตัน มีอาวุธปืนใหญ่ 10 กระบอก
เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ. 2384 ไปราชการทัพรบกับญวน ใช้เป็นเรือพระที่นั่งของแม่ทัพ คือพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เมื่อครั้งทรงเป็นกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ยกกองทัพไปรบกับญวน ตีเมืองบันทายมาศ (ฮาเตียน) - เรือราชฤทธิ์ (Sir Walter Scott) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2379 เป็นเรือแบบเดียวกันกับพุทธอำนาจ เมื่อ พ.ศ. 2384 ไปราชการทัพรบกับญวน
- เรืออุดมเดช (Lion) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2384 เป็นเรือชนิดบาร์ก (Bark) ขนาด 300 ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ เมื่อ พ.ศ. 2384 ได้ใช้ไปราชการทัพรบกับญวน พ.ศ. 2387 ได้นำสมณทูตไปลังกา
- เรือเวทชงัด (Tiger) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2386 เป็นเรือชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด 200 ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ
- เรือพุทธสิงหาศน์ (Cruizer) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2398 เป็นเรือชนิดชิพ ขนาด 400 ตัน เรือลำนี้เป็นของพระบาทสมเด็จ พระปิ่นเกล้า ฯ
- เรือมงคลราชปักษี (Falcon) ซื้อเมื่อ พ.ศ. 2400 เดิมเป็นเรือของชาวอเมริกัน ชนิดสกูเนอร์ (Schooner) ขนาด 100 ตัน พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า ฯ
ทรงซื้อมา แล้วดัดแปลงใช้เป็นเรือรบ เรือพระที่นั่งของพระองค์
เกียรติประวัติของการทหารเรือไทยสมควรจะต้องยกถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์เป็น ผู้ที่ทรงสนพระราชหฤทัยในกิจการทหารเรือในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก เมื่อปรากฏว่ามีเรือรบต่างประเทศเข้ามาเยี่ยม ประเทศไทยคราวใดพระองค์ก็มักหาโอกาสเสด็จไปเยี่ยมเยียนเรือรบเหล่านั้นเสมอ เพื่อจะได้ทรงทราบว่าเรือรบต่าง ประเทศเขาตกแต่งและจัดระเบียบเรือกันอย่างไร แล้วนำมาเป็นแบบอย่างให้กับเรือรบของไทยในเวลาต่อมา
จากพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้นำในเรื่องเรือสมัยใหม่ ซึ่งผู้คนในสมัยนั้นไม่มีใครเชื่อเลยว่าเหล็กจะลอยน้ำได้แต่พระองค์ได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถให้ปรากฏ ทรงต่อเรือรบ กลไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน ทรงแตกฉานเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษจนสามารถติดต่อ กับชาวต่างประเทศได้เป็นอย่างดีพระสหาย และพระอาจารย์ เป็นชาว อเมริกันเสียเป็นส่วนมากทรงหมกมุ่นกับกิจการทหารเรือมาตั้งแต่ต้น ด้วยเหตุนี้จึงถือได้ว่าพระองค์ทรงเป็น ผู้บัญชาการ ทหารเรือ พระองค์แรก และควรถวายพระนามว่า ผู้บัญชาการทหารเรือวังหน้า สมควรได้รับการถวายพระเกียรติยศขั้นสูงสุด จากชาวกองทัพเรือ ตั้งแต่นี้และตลอดไป
พระเจ้าราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์
พระองค์เจ้าชายวรรัตน์ (พ.ศ. 2384-2449) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเกด ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ
เมื่อ พ.ศ 2424 ในรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นต้นสกุล วรรัตน์
พระองค์เจ้าชายวรรัตน์ (พ.ศ. 2384-2449) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเกด ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ
เมื่อ พ.ศ 2424 ในรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นต้นสกุล วรรัตน์
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์
พระองค์เจ้าหญิงวงจันทร์ (พ.ศ. 2393-2459)
ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม
พระองค์เจ้าหญิงวงจันทร์ (พ.ศ. 2393-2459)
ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม
พระเจ้าราชวงศ์เธอ กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร
พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณวงศ์ (พ.ศ. 2396-2456)
ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาขลิบ ทรงได้รับสถาปนา
เป็นกรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร เมื่อ พ.ศ. 2446
พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณวงศ์ (พ.ศ. 2396-2456)
ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาขลิบ ทรงได้รับสถาปนา
เป็นกรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร เมื่อ พ.ศ. 2446
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัควดี
พระองค์เจ้าหญิงภัควดี (พ.ศ. 2398) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาพลอย สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2483 ในรัชกาลที่ 8
พระองค์เจ้าหญิงภัควดี (พ.ศ. 2398) ประสูติแต่เจ้าจอม
มารดาพลอย สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2483 ในรัชกาลที่ 8
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิมพับสรสร้อย
พระองค์เจ้าหญิงพิมพับสรสร้อย (พ.ศ. 2399-2468)
ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาวันดี
พระองค์เจ้าหญิงพิมพับสรสร้อย (พ.ศ. 2399-2468)
ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาวันดี
พระโอรส-ธิดา
ประสูติก่อนบวรราชาภิเษก
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2378) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2380) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามาลัย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 3
- พระองค์เจ้าชายยอดยิ่งยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร (พ.ศ. 2381-2428) ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาเอม ทรงบวรราชาภิเษกเป็น กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เมื่อ พ.ศ. 2408
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2381) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากุหลาบ
- พระองค์เจ้าหญิงดวงประภา (พ.ศ. 2381-2438) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามาลัย
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2381) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตาด
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2382) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาใย
- พระองค์เจ้าหญิงบุปผา (พ.ศ. 2382) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2382) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบาง
- พระองค์เจ้าชายสุธารส (พ.ศ. 2383-2436) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากุหลาบ ทรงเป็นต้นสกุล สุธารส
- พระองค์เจ้าหญิงสุดาสวรรค์ (พ.ศ. 2383-2455) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามาลัย
- พระองค์เจ้าชายวรรัตน์ (พ.ศ. 2384-2449) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเกด ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ
เมื่อ พ.ศ 2424 ในรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นต้นสกุล วรรัตน์ - พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2384) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว
- พระองค์เจ้าหญิงตลับ (พ.ศ. 2384) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
- พระองค์เจ้าชายปรีดา (พ.ศ. 2385) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2387) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบาง
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2387) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเพื่อน
- พระองค์เจ้าชายภาณุมาศ (พ.ศ. 2388-2431) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอี่ยม ทรงเป็นต้นสกุล ภาณุมาศ
- พระองค์เจ้าชายหัสดินทร์ (พ.ศ. 2388-2429) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหนู ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นบริรักษ์นรินทรฤทธิ์
เมื่อ พ.ศ. 2424 ในรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นต้นสกุล หัสดินทร - พระองค์เจ้าชายเนาวรัตน์ (พ.ศ. 2388-2433) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นสถิตย์ธำรงศักดิ
เมื่อ พ.ศ. 2424 ในรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นต้นสกุล นวรัตน์ - พระองค์เจ้าชายเบญจางค์ (พ.ศ. 2388-2419) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเพื่อน
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2390) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาด๊า
- พระองค์เจ้าชายยุคนธร (พ.ศ. 2391) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแย้ม สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นต้นสกุล ยุคนธรานนท์
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2391) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
- พระองค์เจ้าหญิงราษี (พ.ศ. 2391-2442) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเยียง
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2392) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอี่ยม
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2392) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาด๊า
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2392) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเท้ย
- พระองค์เจ้าชายกระจ่าง (พ.ศ. 2392) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเพื่อน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5
- พระองค์เจ้าหญิงวงจันทร์ (พ.ศ. 2393-2459) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเอม
- พระองค์เจ้าชายวัชรินทร์ (พ.ศ. 2393) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตาด
- พระองค์เจ้าหญิงจำเริญ (พ.ศ. 2393-2450) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
- พระองค์เจ้าหญิงถนอม (พ.ศ. 2393-2428) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพัน
ประสูติเมื่อบวรราชาภิเษกแล้ว
- พระองค์เจ้าชายโตสินี (พ.ศ. 2394-2458) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ ทรงเป็นต้นสกุล โตษะณีย์
- พระองค์เจ้าชายเฉลิมลักษณวงศ์ (พ.ศ. 2396-2456) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาขลิบ ทรงได้รับสถาปนาเป็น
กรมหมื่นวรวัฒน์สุภากร เมื่อ พ.ศ. 2446 - พระองค์เจ้าชายนันทวัน (พ.ศ. 2396-2434) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหนู ทรงเป็นต้นสกุล นันทวัน
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2396) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจัน
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2396) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2397) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพลับ
- พระองค์เจ้าชายวัฒนา (พ.ศ. 2397) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาลำภู
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2397) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
- พระองค์เจ้าหญิงภัควดี (พ.ศ. 2398) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพลอย สิ้นพระชนม์ พ.ศ. 2483 ในรัชกาลที่ 8
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2398) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาช้อย
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2398) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
- พระองค์เจ้าหญิงวรภักตร์ (พ.ศ. 2398-2427) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาส่วน
- พระองค์เจ้าหญิงวิลัยทรงกัลยา (พ.ศ. 2398) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาขลิบ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5
- พระองค์เจ้าหญิงเฉิดโฉม (พ.ศ. 2399-2489) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสีดา
- พระองค์เจ้าหญิงประโลมโลก (พ.ศ. 2399-243) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแก้ว
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2399) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพลับ
- พระองค์เจ้าชายพรหเมศ (พ.ศ. 2399-2434) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพรหมา ทรงเป็นต้นสกุล พรหเมศ
- พระองค์เจ้าหญิงโศกส่าง (พ.ศ. 2399) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหงส์
- พระองค์เจ้าหญิงพิมพับสรสร้อย (พ.ศ. 2399-2468) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาวันดี
- พระองค์เจ้าชายจรูญโรจน์เรืองศรี (พ.ศ. 2399-2451) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาช้อย ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ เมื่อ พ.ศ. 2439 ในรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นต้นสกุล จรูญโรจน์
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2400) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดากลีบ
- พระองค์เจ้าชายสนั่น (พ.ศ. 2400) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาอ่อน ทรงเป็นต้นสกุล สายสนั่น
- พระองค์เจ้าชาย (พ.ศ. 2400) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาช้อย
- พระองค์เจ้าหญิง (พ.ศ. 2401) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสายบัว
- พระองค์เจ้าหญิงสอางองค์ (พ.ศ. 2403-2465) ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาวันดี
ที่มา: www.royjaithai.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น