ตราประจำจังหวัดระนอง
จังหวัดระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2,141,250 ไร่ มีพื้นที่ติดต่อทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดชุมพร ทางใต้ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ทางตะวันตกติดกับประเทศพม่าและทะเลอันดามัน มีลักษณะพื้นที่เรียวและแคบ มีความยาวถึง 169 กิโลเมตร และมีความแคบในบริเวณอำเภอกระบุรี เพียง 9 กิโลเมตร
ระนองเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ เดิมเป็นหัวเมืองขนาดเล็ก เป็นเมืองขึ้นของเมืองชุมพร คำว่าระนอง เพี้ยนมาจากคำว่า แร่นอง เนื่องจากจังหวัดระนอง มีแร่อยู่มากมาย
ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของระนอง ประกอบด้วยภูเขาสูงในทางทิศตะวันออก และลาดลงสู่ทะเลอันดามันในทางทิศตะวันตก มีแม่น้ำและคลองสำคัญหลายสาย และมีภูเขาสูงสุดคือ ภูเขาพ่อตาโชง
โดง
แม่น้ำลำคลองที่สำคัญมีดังนี้
- คลองลำเลียง มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองปากจั่น ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร
- คลองวัน ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองกระบุรี มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองละอุ่น ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร
- คลองหาดส้มแป้น มีความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร
- คลองกะเปอร์ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
- คลองกำพวน มีความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร
ภูมิอากาศ
จังหวัดระนองได้ชื่อว่าเป็นเมือง "ฝนแปด แดดสี่" นั่นคือมีฝนตก 8 เดือน และฝนแล้งเพียง 4 เดือน นับว่าเป็นจังหวัดที่ฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากอยู่ติดกับทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อย่างมาก
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 5 อำเภอ 30 ตำบล 167 หมู่บ้าน
2. อำเภอละอุ่น
3. อำเภอกะเปอร์
4. อำเภอกระบุรี
5. อำเภอสุขสำราญ
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: อินทนิล (Lagerstroemia spesiosa)
- คำขวัญประจำจังหวัด: คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง ("กาหยู" หมาย-ถึงมะม่วงหิมพานต์)
รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง
ลำดับ | รายนาม | ชื่อตำแหน่ง | ช่วงเวลา | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
ปัจจุบัน | ว่าที่ร้อยตรีเชิดศักดิ์ จำปาเทศ | ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555- ปัจจุบัน |
จังหวัดระนอง
- อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
- อุทยานแห่งชาติแหลมสน
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา
ที่มา : th.wikipedia.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น