วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

จังหวัดพังงา

จังหวัดพังงา

ตราประจำจังหวัด

          จังหวัดพังงา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย

สภาพทางภูมิศาสตร์


          จังหวัดพังงามีเนื้อที่ประมาณ 4,171 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลนและป่าดงดิบคิดเป็นร้อยละ 57 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมีพื้นที่ติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดระนอง
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดกระบี่
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดภูเก็ตและทะเลอันดามัน
- ทิศตะวันตก ติดกับมหาสมุทรอินเดีย

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด



- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกจำปูน (Anaxagorea javanica)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: เทพทาโร (Cinnamomum porrectum)
- คำขวัญประจำจังหวัด: แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร

หน่วยการปกครอง


          การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 314 หมู่บ้าน


1. อำเภอเมืองพังงา
2. อำเภอเกาะยาว
3. อำเภอกะปง
4. อำเภอตะกั่วทุ่ง
5. อำเภอตะกั่วป่า
6. อำเภอคุระบุรี
7. อำเภอทับปุด
8. อำเภอท้ายเหมือง

สถานศึกษา

อุดมศึกษา

- วิทยาลัยชุมชนพังงา
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดพังงา

การศึกษาพิเศษ

- ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพังงา

โรงเรียน

- ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพังงา

ที่มา : th.wikipedia.org


จังหวัดระนอง

จังหวัดระนอง

ตราประจำจังหวัดระนอง

          จังหวัดระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2,141,250 ไร่ มีพื้นที่ติดต่อทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดชุมพร ทางใต้ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ทางตะวันตกติดกับประเทศพม่าและทะเลอันดามัน มีลักษณะพื้นที่เรียวและแคบ มีความยาวถึง 169 กิโลเมตร และมีความแคบในบริเวณอำเภอกระบุรี เพียง 9 กิโลเมตร

           ระนองเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ เดิมเป็นหัวเมืองขนาดเล็ก เป็นเมืองขึ้นของเมืองชุมพร คำว่าระนอง เพี้ยนมาจากคำว่า แร่นอง เนื่องจากจังหวัดระนอง มีแร่อยู่มากมาย

ภูมิประเทศ


          สภาพภูมิประเทศของระนอง ประกอบด้วยภูเขาสูงในทางทิศตะวันออก และลาดลงสู่ทะเลอันดามันในทางทิศตะวันตก มีแม่น้ำและคลองสำคัญหลายสาย และมีภูเขาสูงสุดคือ ภูเขาพ่อตาโชง
โดง

          แม่น้ำลำคลองที่สำคัญมีดังนี้

- แม่น้ำกระบุรี เป็นแม่น้ำที่กั้นพรมแดนไทย-พม่า มีความยาวประมาณ 95 กิโลเมตร
- คลองลำเลียง มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองปากจั่น ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร
- คลองวัน ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองกระบุรี มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองละอุ่น ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร
- คลองหาดส้มแป้น มีความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร
- คลองกะเปอร์ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
- คลองกำพวน มีความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร

ภูมิอากาศ


          จังหวัดระนองได้ชื่อว่าเป็นเมือง "ฝนแปด แดดสี่" นั่นคือมีฝนตก 8 เดือน และฝนแล้งเพียง 4 เดือน นับว่าเป็นจังหวัดที่ฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากอยู่ติดกับทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อย่างมาก

หน่วยการปกครอง

          การปกครองแบ่งออกเป็น 5 อำเภอ 30 ตำบล 167 หมู่บ้าน

1. อำเภอเมืองระนอง
2. อำเภอละอุ่น
3. อำเภอกะเปอร์
4. อำเภอกระบุรี
5. อำเภอสุขสำราญ


สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกโกมาชุม (Dendrobium formosum)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: อินทนิล (Lagerstroemia spesiosa)
- คำขวัญประจำจังหวัด: คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง ("กาหยู" หมาย-ถึงมะม่วงหิมพานต์)

รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง



ลำดับรายนามชื่อตำแหน่งช่วงเวลาระยะเวลาหมายเหตุ
ปัจจุบันว่าที่ร้อยตรีเชิดศักดิ์ จำปาเทศผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555- ปัจจุบัน

จังหวัดระนอง

อุทยาน


- อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
- อุทยานแห่งชาติแหลมสน
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา

ที่มา : th.wikipedia.org

จังหวัดกระบี่

จังหวัดกระบี่

          จังหวัดกระบี่ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น หาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการัง ถ้ำ และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 100 เกาะ

ตราประจำจังหวัดกระบี่

ที่ตั้ง


          เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 814 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) มีเนื้อที่ 4,708 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขา ที่ดอน ที่ราบ หมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 154 เกาะ อุดมไปด้วยป่าชายเลน ตัวเมืองกระบี่มีแม่น้ำยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไหลผ่านลงสู่ทะเลอันดามันที่ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย มีต้นกำเนิดจากยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่ คือ เขาพนมเบญจา

สภาพภูมิประเทศ

          สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดกระบี่ ทางตอนเหนือประกอบด้วยเทือกเขายาวทอดตัวไปในแนวเหนือใต้ สลับกับสภาพพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาด และลอนชัน มีที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก บริเวณทางใต้ มีสภาพภูมิอากาศเป็นภูเขากระจัดกระจาย สลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่น ส่วนบริเวณทางตอนใต้สุดและตะวันตกเฉียงใต้ มีสภาพพื้นที่เป็นแบบลูกคลื่นลอนลาดจนถึงค่อนข้างเรียบ และมีภูเขาสูงๆต่ำๆ สลับกันไป บริเวณด้านตะวันตกมีลักษณะ เป็นชายฝั่งติดกับทะเลอันดามันยาวประมาณ 160 กิโลเมตร. ประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่ประมาณ 130 เกาะ แต่เป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 13 เกาะ เกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะลันตา เป็นที่ตั้งของอำเภอเกาะลันตา และเกาะพีพี ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมือง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามติดอันดับของโลก บริเวณตัวเมืองมีแม่น้ำกระบี่ ยาวประมาณ 5 กิโลเมตร. ไหลผ่านลงสู่ทะเลอันดามัน ที่ ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย ซึ่งมี่ต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาพนมเบญจา เทือกเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่

สภาพภูมิอากาศ

          จังหวัดกระบี่ มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกชุกตลอดปี และมีเพียง 2 ฤดู คือ - ฤดูร้อน มี 4 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนเมษายน - ฤดูฝน มี 8 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ไปจนถึงเดือนตุลาคม

อาณาเขต

          ทิศเหนือ จด จังหวัดพังงา และ จังหวัดสุราษฎร์ธานีทางด้าน อำเภอปลายพระยา และ อำเภอเขาพนม ทิศใต้ จด จังหวัดตรัง และ ทะเลอันดามัน ทางด้าน อำเภอเกาะลันตา อำเภอเมืองกระบี่ และ อำเภอเหนือคลอง ทิศตะวันออก จด จังหวัดนครศรีธรรมราช และ จังหวัดตรังทางด้าน อำเภอเขาพนม อำเภอคลองท่อม และ อำเภอลำทับ ทิศตะวันตก จด จังหวัดพังงา และ ทะเลอันดามัน ทางด้าน อำเภออ่าวลึก และ อำเภอเมืองกระบี่

ประวัติศาสตร์

          จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานได้ว่าบริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชื่อเมืองกระบี่ว่า อาจมาจากความหมายที่แปลว่าดาบ เนื่องจากมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับการขุดพบมีดดาบโบราณก่อนที่จะสร้างเมือง

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ต้นทุ้งฟ้า

- ตราประจำจังหวัด: รูปกระบี่ไขว้ เบื้องหลังมีภูเขาและทะเล กระบี่ไขว้ หมายถึง อาวุธโบราณซึ่งมีผู้ค้นพบในท้องที่จังหวัด จำนวน 2 เล่ม ภูเขา หมายถึงเทือกเขาพนมเบญจา ซึ่งเป็นภูเขาสูงสุดของกระบี่ ซับซ้อนกันถึง 5 ยอด จึงเรียกว่า พนมเบญจา มีเมฆปกคลุมตลอดเวลา และกั้นเขตแดนกับจังหวัดอื่น ทะเล หมายถึง อาณาเขตอีกด้านหนึ่งของกระบี่ ซึ่งติดกับฝั่งทะเลอันดามันหรือมหาสมุทรอินเดีย
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: ทุ้งฟ้า (Acacia catechu)
- คำขวัญประจำจังหวัด: กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก
- อักษรย่อจังหวัด : กบ.

หน่วยการปกครอง


          การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 53 ตำบล 374 หมู่บ้าน

1. อำเภอเมืองกระบี่
2. อำเภอเขาพนม
3. อำเภอเกาะลันตา
4. อำเภอคลองท่อม
5. อำเภออ่าวลึก
6. อำเภอปลายพระยา
7. อำเภอลำทับ
8. อำเภอเหนือคลอง


การคมนาคม

         1.โดยรถยนต์ส่วนตัว - จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร-ระนอง-พังงา-กระบี่ ระยะทาง 946 กิโลเมตร - จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถึงจังหวัดชุมพร จากชุมพรใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอหลังสวน อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าอำเภอเวียงสระใช้ทางหลวงหมายเลข 4035 ถึงอำเภออ่าวลึก แล้ววกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 อีกครั้งหนึ่ง ถึงจังหวัดกระบี่ ระยะทาง 814 กิโลเมตร -จากภูเก็ตการเดินทางโดยรถยนต์จากภูเก็ต ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 และหมายเลข 4 ระยะทาง 176 กิโลเมตร

          2.รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชนบริษัท ลิกไนท์ ทัวร์ สายกรุงเทพฯ-กระบี่ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11-12 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th ลิกไนท์ทัวร์ โทร. 0 2894 6151-3

ที่มา : th.wikipedia.org


อำเภอสัตหีบ

อำเภอสัตหีบ

อำเภอสัตหีบ

          อำเภอสัตหีบ เป็นอำเภอเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรีห่างจากตัวเมืองชลบุรี 85 กิโลเมตร ความสำคัญของสัตหีบคือเป็นเมืองแห่งฐานทัพเรือและเป็นฐานทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

          อำเภอสัตหีบเป็นอำเภอใต้สุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงดังต่อไปนี้


- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางละมุง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านฉาง (จังหวัดระยอง)
- ทิศใต้ จรดอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก จรดอ่าวไทย

ประวัติ


          มีเรื่องเล่ากันว่า ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก

           ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดี มีที่ดินเรือกสวนไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้

           หลายท่านให้ความคิดเห็นว่า "สัตต" แปลว่า เจ็ด "หีบ" หมายถึง หีบ ฉะนั้นคำว่า "สัตหีบ" ก็น่าจะแปลว่า หีบเจ็ดใบ ซึ่งสอดคล้องตามตำนานประวัติเจ้าแม่แหลมเทียนว่าได้นำพระราชาลงในหีบเจ็ดใบเพื่อหลบหนียักษ์ อีกหลักฐานหนึ่งมาจากกองประวัติศาสตร์ทหารเรือระบุว่า เมื่อ พ.ศ. 2464 รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จตรวจเยี่ยมหัวเมืองชายทะเล เพื่อจะสร้างแนวป้องกันชายฝั่งทะเลด้านนอกเพิ่มขึ้น เพราะป้อมพระจุลจอมเกล้าที่ปากน้ำสมุทรปราการนั้นใกล้เมืองหลวงมากเกินไป จึงทรงดำริหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกเป็นที่ตั้งกองทัพเรือ เพื่อตรวจตรารักษาฝั่งและเขตน่านน้ำใหญ่ จึงพระราชทานนามว่า สัตตหีบ เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นเกาะ 7 เกาะ เป็นที่กำบังลมให้แก่หมู่เรือได้ดี คำว่า "สัตหีบ" หมายถึง ที่กำบังเจ็ดแห่ง (หีบ = ที่บัง) อันหมายถึงเกาะต่าง ๆ กล่าวคือ เกาะพระ เกาะยอ เกาะหมู เกาะเตาหม้อ เกาะเณร เกาะสันฉลาม และเกาะเลา

          สัตหีบแยกจากอำเภอบางละมุงเพื่อเป็น กิ่งอำเภอสัตหีบ เมื่อ พ.ศ. 2480 โดยประกอบด้วยตำบลสัตหีบและตำบลนาจอมเทียน และได้รับประกาศแต่งตั้งเป็น อำเภอสัตหีบ เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2496 ดังปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 70 ตอนที่ 17 ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2496 โดยมีนายอำเภอคนแรกชื่อ นายชุมพล อุทยานิก

เหตุการณ์สำคัญ


          8 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 เหตุเครื่องบินทิ้งระเบิด B-24J ประเทศสหรัฐอเมริกาหมายเลข 42-73302 ถูกกองทัพเรือ ยิงตก มีผู้เสียชีวิต 8 คน ถูกจับเป็นเชลย 2 คน ท่ามกลางสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก
19 เมษายน พ.ศ. 2509 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรือใบ ประเภทโอเคขนาด 13 ฟุต ชื่อ "เวก้า" (VEGA) จากวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่เวลา 04.28 น. ข้ามอ่าวไทยไปยังอ่าวเตยงาม ซึ่งมีระยะทางประมาณ 60 ไมล์ทะเล ด้วยพระองค์เองเพียงลำพัง ซึ่งทรงใช้เวลาในการแล่นใบในครั้งนี้ถึง 17 ชั่วโมงเต็ม โดยเสด็จถึงอ่าวเตยงามเมื่อเวลา 21.28 น. โดยได้ทรงนำธง "ราชนาวิกโยธิน" ข้ามอ่าวไทยมาด้วย หลังเสด็จถึง ทรงปักธง "ราชนาวิกโยธิน" เหนือยอดก้อนหินใหญ่ที่ชายหาดของอ่าวเตยงาม ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยบนแผ่นศิลาจารึก เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่กองทัพเรือสืบไป

การแบ่งเขตการปกครอง


การปกครองส่วนภูมิภาค

          อำเภอสัตหีบแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 41 หมู่บ้าน ได้แก่


1. สัตหีบ (Sattahip)
2. นาจอมเทียน (Na Chom Thian)
3. พลูตาหลวง (Phlu Ta Luang)
4. บางเสร่ (Bang Sare)
5. แสมสาร (Samaesan)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

           ท้องที่อำเภอสัตหีบประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

- เทศบาลเมืองสัตหีบ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1-8 ตำบลสัตหีบ และบางส่วนของหมู่ที่ 2 ตำบลพลูตาหลวง
- เทศบาลตำบลนาจอมเทียน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาจอมเทียน
- เทศบาลตำบลบางเสร่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางเสร่
- เทศบาลตำบลเขตรอุดมศักดิ์ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 9 รวมทั้งบางส่วนของหมู่ที่ 1-8 ตำบลสัตหีบ
- เทศบาลตำบลเกล็ดแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเสร่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางเสร่)
- เทศบาลตำบลเขาชีจรรย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาจอมเทียน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนาจอมเทียน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลูตาหลวง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองสัตหีบ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสมสารทั้งตำบล

เศรษฐกิจ


          ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการและประมงปัจจุบันมีแรงงานภาคอุตสาหกรรมที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมรอบๆ มาพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะที่อาชีพเสริมได้แก่การเกษตร โดยมีผลผลิตสำคัญ เช่น มันสำปะหลัง มะม่วง ข้าว มะพร้าว อ้อย ทุเรียน กล้วย แตงโม กระท้อน และขนุน

          มีธนาคาร 9 แห่ง ได้แก่


1. ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสัตหีบ
2. ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบ้านอำเภอ
3. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาสัตหีบ
4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาสัตหีบ
5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาสัตหีบ
6. ธนาคารทหารไทย จำกัด สาขาสัตหีบ
7. ธนาคารธนชาต จำกัด สาขาสัตหีบ
8. ธนาคารออมสิน สาขาสัตหีบ
9. ธนาคารออมสิน สาขาบ้านอำเภอ
10. ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาสัตหีบ
11. ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาพลูตาหลวง

           มีสหกรณ์ออมทรัพย์ ทร. 3 แห่ง ได้แก่


1. สหกรณ์ออมทรัพย์ กองการฝึก กองเรือยุทธการ
2. สหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน
3. สหกรณ์ออมทรัพย์ฐานทัพเรือสัตหีบ

          มีห้างสรรพสินค้า 1 แห่ง

1. ห้าง เทสโก้โลตัส สัตหีบ

การศึกษา



          สถาบันการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และกรมอาชีวศึกษา


1. โรงเรียนมารีวิทย์ สัตหีบ
2. โรงเรียนนาวิกโยธินบูรณะ
3. โรงเรียนสิงห์สมุทร
4. โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม ตำบลนาจอมเทียน
5. โรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา
6. โรงเรียนธัมมสิริศึกษา
7. โรงเรียนบำรุงศิษย์ศึกษา
8. โรงเรียนจุฬเทพบางเสร่
9. โรงเรียนอนุบาลบ้านเตาถ่าน
10. โรงเรียนชุมชนบ้านบางเสร่
11. โรงเรียนเลิศปัญญา
12. โรงเรียนบ้านอำเภอ
13. โรงเรียนราษฏร์ประดิษฐ์วิทยา
14. โรงเรียนวัดนาจอมเทียน
15. โรงเรียนบ้านสัตหีบ
16. โรงเรียนสัตหีบพาณิชยการ บ้านอำเภอ
17. โรงเรียนจอมเทียนบริหารธุรกิจ ตำบลบางเสร่
18. วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ตำบลนาจอมเทียน
19. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี ตำบลนาจอมเทียน
20. โรงเรียนชุมพลทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ที่บ้านเกล็ดแก้ว ตำบลบางเสร่
21. โรงเรียนผู้รู้ ญส.ส.๘๐
22. โรงเรียนสัตหีบ

แหล่งน้ำจืด



1. อ่างเก็บน้ำหนองตะเคียน
2. อ่างเก็บน้ำโรงเรียนชุมพล
3. อ่างเก็บน้ำห้วยตู้ 1-2
4. อ่างเก็บน้ำภูติอนันต์
5. อ่างเก็บน้ำพลูตาหลวง

โรงงานอุตสาหกรรมสำคัญ



1. โรงงานถาวร ตำบลบางเสร่
2. บริษัทบางกอกมารีน ตำบลบางเสร่
3. แอนด์เตอร์เซนเยอร์ทดัส ตำบลบางเสร่
4. ห้างหุ้นส่วนจำกัด พัทยาสโตน (กม.161) ตำบลนาจอมเทียน
5. โรงงานต่อเรือ ตำบลนาจอมเทียน
6. บริษัทสยามทรี ดีเวลลอปเม้นท์ ตำบลพลูตาหลวง
7. บริษัทกาย พี เอ ตำบลพลูตาหลวง
8. บริษัทออย-เท็กซ์ ตำบลพลูตาหลวง
9. ไทยออยล์ทูล แมนชีนเนอร์เซอร์วิส ตำบลพลูตาหลวง
10. สหชัยผลิตภัณฑ์คอนกรีต ตำบลพลูตาหลวง
11. พลูตาหลวง เมทัสเวิร์ก จำกัด ตำบลพลูตาหลวง
12. ดีเจ ออยล์ฟิลด์ เซอร์วิส จำกัด ตำบลพลูตาหลวง
13. พี ยู อาร์ อินดัสเตรียล จำกัด ตำบลพลูตาหลวง
14. ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงน้ำแข็งแสนอุดม ตำบลพลูตาหลวง
15. แอสไพน์จำกัดหรือบริษัทยูนิเวอร์แซล ตำบลพลูตาหลวง

โรงพยาบาล



1. โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ
2. โรงพยาบาลสัตหีบ กม. 10 กระทรวงสาธารณสุข
3. โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม
4. โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ

แหล่งท่องเที่ยว



- สวนนงนุช
- หาดบางเสร่
- หาดบ้านอำเภอ
- หาดเตยงาม
- วัดญาณสังวราราม
- วิหารเซียน
- วัดสัตหีบ
- วัดบางเสร่คงคาราม (วัดในบางเสร่)
- วัดสามัคคีบรรพต (วัดนอกบางเสร่)
- วัดทรงเมตตาวนาราม
- หาดสัตหีบ
- สวนกรมหลวงชุมพรฯ
- หาดนางรำ
- ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล สอ.รฝ.
- หาดทรายแก้ว รร.ชุมพลฯ
- The Beaches สวนน้ำ (กำลังเริ่มโครงการก่อสร้างอยู่ คาดว่าน่าจะเสร็จภายในปี พ.ศ. 2556)
- พระพุทธรูปแกะสลักลายเส้น หน้าผาเขาชีจรรย์
- สวนสมุนไพรพรอุดม
- อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม
- พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย
- เรือหลวงจักรีนฤเบศร
- ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค ของคุณสุพรรณษา เนื่องภิรมย์


สวนสาธารณะ


1. หนองตะเคียน (ปรับปรุงล่าสุดด้วยงบประมาณ 140 ล้านบาท: พ.ศ. 2550)
2. สวนสำราญในเขตกองเรือยุทธการ
3. สวนสาธารณะเทศบาลเมืองบางเสร่


หน่วยกู้ภัย

- มูลนิธิโรจนธรรมสถาน

ที่มา : th.wikipedia.org


แม่น้ำตาปี

แม่น้ำตาปี

แม่น้ำตาปี ช่วงที่ไหลผ่านเมืองสุราษฎร์ธานี

          แม่น้ำตาปี เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของประเทศไทย มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช และไหลสู่อ่าวไทยที่อ่าวบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี นักปราชญ์ชาวกรีกนามว่าปโตเลมี ได้กล่าวถึง แม่น้ำอัตตาบาส์ ซึ่งหมายถึง แม่น้ำตาปี

ประวัติ

           ชื่อแม่น้ำตาปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2458 โดยมี มหาอำมาตย์โท พระยามหาอำมาตยาธิบดี เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ลงนามสนองฯ ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2458

          เดิมมีชื่อว่า "แม่น้ำหลวง" เพราะมีต้นกำเนิดอยู่ที่ภูเขาหลวงซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขานครศรีธรรมราช อยู่ในเขตพื้นที่ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ไหลผ่านอำเภอฉวาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่าน อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอพุนพิน และไหลออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของภาคใต้

          ด้วยแม่น้ำสายนี้ มีความยาวครอบคลุมพื้นที่มาก ชาวพื้นเมือง จึงเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามสถานที่ เช่น เมื่อผ่านอำเภอพุนพิน เรียกแม่น้ำท่าข้าม ด้วยความที่เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในราชอาณาจักรมณฑลปักษ์ใต้ ตลอดสายแห่งลุ่มแม่น้ำสายนี้จึงอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก การค้าขาย จัดเป็นแม่น้ำสายสำคัญอีกสายหนึ่งของราชอาณาจักรสยามในเวลานั้น

          เมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จไปประทับ ณ พระตำหนักสวนสราญรมย์ ตำบลท่าข้าม ได้พระราชทานชื่อเมืองไชยาเป็นเมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 และมีพระราชดำรัสว่าสมควรที่เปลี่ยนชื่อแม่น้ำในตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ตลอดทั้งลำน้ำตั้งปากน้ำที่ออกสู่ทะเล ถึงเกาะปราบ ปากแม่น้ำพุมดวง คลองสินปุน คลองกะเบียด จนถึงสันเขาหลวง ว่า แม่น้ำตาปี

          การตั้งชื่อแม่น้ำนี้ คล้ายกับชื่อแม่น้ำ ตาปติ และ เมืองสุรัฎฐ (สุราษฎร์) ในประเทศอินเดีย ซึ่งแม่น้ำตาปติมีต้นกำเนิดจากภูเขาสัตตปุระ ไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวแคมเบย์ ปากแม่น้ำนี้มีเมืองชื่อว่า สุรัฎฐ์ ตั้งอยู่ ซึ่งสภาพของเมืองทั้งสองอาจคล้ายคลึงกัน ประกอบกับทรงทราบว่า ชาวเมืองไชยาเป็นผู้มีคุณธรรม ตั้งมั่นในพระธรรมศาสนาสอดคล้องกับ ความหมายของคำว่า สุราษฎร์ธานี และได้พระราชทานนามพระตำหนักที่ชาวเมืองสร้างถวายเป็นที่ประทับบนเนินท่าข้ามว่า สวนสราญรมย์ ซึ่งปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์

แม่น้ำตาปี ช่วงที่ไหลผ่าน อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช

คลองสาขา

          แม่น้ำตาปี เกิดจากเทือกเขาหลวงในอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราชไหลผ่าน อำเภอฉวาง อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอพระแสง อำเภอเคียนซา อำเภอพุนพิน และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ไหลออกสู่ทะเลที่อ่าวบ้านดอน แม่น้ำตาปี มีความยาวทั้งหมดประมาณ 232 กิโลเมตร มีคลองสาขาที่สำคัญ 6 สาย ได้แก่


- คลองสินปุน ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกระบี่ ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปี ทางฝั่งซ้ายในตำบลสินปุน อำเภอพระแสง
- คลองอิปัน ต้นน้ำมาจากอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปีทางฝั่งซ้ายในตำบลสินปุน อำเภอพระแสง
- คลองพุนพิน แยกจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำตาปี ใกล้สะพานรถไฟพระจุลจอมเกล้า ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน ไปออกทะเลที่อ่าวบ้านดอน
- คลองท่ากูบ ต้นน้ำมาจากบ้านขุนทะเล ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปีทางฝั่งขวา
- คลองมะขามเตี้ย ต้นน้ำมากจากบึงขุนทะเล ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปี ทางฝั่งขวาใกล้ตลาดบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
- คลองขวาง แยกจากฝั่งซ้ายตรงกันข้ามกับหน้าตลาดบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ไปบรรจบกับ- - คลองพุนพิน ที่ตำบลลิเล็ด อำเภอพุนพิน
- ยังมีคลองอื่น ๆ เช่น คลองศก ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอุทยานแห่งชาติเขาสก คลองยัน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง
- คลองพุมดวง เป็นต้น

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์


          ใน ราว ค.ศ. 100 - ราว ค.ศ. 178 ปโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีก ได้กล่าวถึง แม่น้ำอัตตาบาส์ หมายถึง แม่น้ำตาปี เป็นเส้นทางเดินทางและเมืองท่าสำคัญ ในหนังสือดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์

          จากคลองสาขาที่มาจากจังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา เป็นเส้นทางสำคัญในยุคอาณาจักรศรีวิชัย ที่ชาวต่างชาติใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงสินค้าจากทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ขึ้นฝั่งยังบริเวณอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มาสู่อ่าวไทยที่บริเวณปากแม่น้ำพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีเส้นทางที่สำคัญอย่างน้อย 4 เส้นทาง คือ


1. จากทุ่งตึกผ่านทางคลองเหล ผ่านมาทางเขาสก เข้าคลองพุมดวง เข้าแม่น้ำตาปี และมาออกที่อ่าวบ้านดอน
2. จากคณะมะรุ่ยผ่านทางคลองชะอุ่น คลองสก คลองพุมดวง แม่น้ำตาปี แล้วออกทางอ่าวบ้านดอน
3. จากคลองปกาสัย ผ่านคลองโตรม คลองอิปัน ออกแม่น้ำตาปี แล้วต่อมาออกอ่าวบ้านดอน
4. จากคลองท่อมผ่านคลองสินปุน ออกแม่น้ำตาปี และอ่าวบ้านดอน

การใช้ประโยชน์


          ปัจจุบัน แม่น้ำตาปี ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ทั้งการอุปโภค บริโภค และการนันทนาการท่องเที่ยว

- เขื่อนรัชชประภา

          เป็นเขื่อนผลิตพลังงานไฟฟ้า กั้นแม่น้ำตาปีบริเวณต้นน้ำคลองศก ระดับน้ำในเขื่อนสูงสุดที่ 100 เมตร นำน้ำที่เก็บไว้สำหรับการผลิตไฟฟ้า และการชลประทานสำหรับพื้นที่อำเภอพนม และอำเภอคีรีรัฐนิคม

- ล่องแก่งคลองยัน-คลองศก

          ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง ได้จัดกิจกรรมล่องแก่งชมธรรมชาติสองข้างทางของคลองยันที่ไหลผ่านบริเวณพื้นที่อุทยาน และในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาสก มีเอกชนจ้ดกิจกรรมล่องห่วงยางไปตามลำน้ำคลองสก เป็นกิจกรรมนันทนาการท่องเที่ยวในพื้นที่

- การอุปโภคบริโภค

          โดยนำน้ำจากแม่น้ำตาปี เป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา นอกจากนี้ยังมีโรงงานที่ตั้งขึ้นสองฝั่งแม่น้ำที่ใช้น้ำจากแม่น้ำตาปี ในการอุปโภคและบริโภคจำนวนมาก

ที่มา : th.wikipedia.org

แม่น้ำบางปะกง

แม่น้ำบางปะกง

แม่น้ำบางปะกง


          แม่น้ำบางปะกง เป็นแม่น้ำสายสำคัญในจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความยาวประมาณ 230 กิโลเมตร และมีความกว้างในช่วงที่ไหลผ่านเขตเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราประมาณ 100 เมตร

          แม่น้ำบางปะกง มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำปราจีนบุรี ไหลมาบรรจบกันบริเวณ ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี

ที่มา : th.wikipedia.org

แม่น้ำแม่กลอง

แม่น้ำแม่กลอง

แม่น้ำแม่กลอง ขณะไหลผ่านจังหวัดสมุทรสงคราม

          แม่น้ำแม่กลอง เป็นแม่น้ำสำคัญสายหนึ่งในภาคตะวันตก เกิดจากแม่น้ำแควใหญ่และแควน้อย ไหลมาบรรจบกันที่ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ไหลผ่านจังหวัดราชบุรี สมุทรสงคราม และไหลลงสู่ปากอ่าวไทยที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม มีความยาวประมาณ 132 กิโลเมตร พื้นที่รับน้ำที่ปากแม่น้ำแม่กลอง 30,106 ตารางกิโลเมตร

          มีพื้นที่ลุ่มน้ำ 30,837 ตร.กม. หรือ 19.45 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม บางส่วนของจ.สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร อุทัยธานี และ ตาก ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย 7,973 ล้าน ลบ.ม.

          ลุ่มน้ำแม่กลองแบ่งออก เป็นลุ่มน้ำย่อย 14 ลุ่มน้ำย่อย ได้แก่ แม่น้ำแควใหญ่ (1,445 ตร.กม.) ห้วยแม่ละมุง (910 ตร.กม.) ห้วยแม่จัน (862 ตร.กม.) แม่น้ำแควใหญ่ตอนกลาง (3,380 ตร.กม.) แม่น้ำแควใหญ่ตอนล่าง (4,094 ตร.กม.) ห้วยขาแข้ง (2,320 ตร.กม.) ห้วยตะเพียน (2,627 ตร.กม.) แม่น้ำแควน้อยตอนบน (3,947 ตร.กม.) ห้วยเขย็ง (1,015 ตร.กม.) ห้วยแม่น้ำน้อย (947 ตร.กม.) ห้วยบ้องตี้ (477 ตร.กม.) แม่น้ำแควน้อยตอนกลาง (2,042 ตร.กม.) ลำภาชี (2,453 ตร.กม.) ทุ่งราบแม่น้ำแม่กลอง (4,318 ตร.กม.)

ที่มา : th.wikipedia.org

คาบสมุทรมลายู

คาบสมุทรมลายู

คาบสมุทรมลายู

          คาบสมุทรมลายู หรือ แหลมมลายู (มาเลย์: Tanah Melayu; อังกฤษ: Malay Peninsula) เป็นคาบสมุทรขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วางตัวเกือบอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ และเป็นจุดที่อยู่ใต้สุดของทวีปเอเชีย ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายู คือ คอคอดกระ ชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้แยกออกจากเกาะสุมาตราด้วยช่องแคบมะละกา มีเกาะบอร์เนียวอยู่ทางตะวันออกในทะเลจีนใต้

          ทางด้านการเมืองการปกครอง คาบสมุทรมลายูแบ่งออกเป็น:

- ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ คือ ส่วนใต้สุดของประเทศพม่า
- ตอนกลางและตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ภาคใต้ของประเทศไทย
- ตอนใต้ทั้งหมด คือ ส่วนของประเทศมาเลเซีย เรียกว่า มาเลเซียตะวันตก (ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคาบสมุทรมลายู)
- เกาะที่อยู่ใต้สุด คือ ประเทศสิงคโปร์


ที่มา: th.wikipedia.org

คอคอดกระ

คอคอดกระ

ตำแหน่งของคอคอดกระ

          คอคอดกระ หรือ กิ่วกระ เป็นส่วนที่แคบที่สุดของแหลมมลายูอยู่ในเขตบ้านทับหลี ตำบลมะมุ อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง กับ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ประมาณกิโลเมตรที่ 545 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ห่างจากเขตเทศบาลเมือง 66 กิโลเมตร ในบริเวณนี้มีแผ่นป้ายคอนกรีตขนาดใหญ่จำลอง

           คอคอดกระ มีระยะทางจากฝั่งทะเลตะวันตกจรดฝั่งตะวันออกกว้างเพียง 50 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนนี้นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ ที่ได้รับความสนใจตั้งแต่ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ในการที่จะขุดคลองตัดผ่านจนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 4 ฝรั่งเศสคิดจะขุดคอคอดกระเพื่อร่นระยะทางในการเดินเรือจากฝั่งทะเลอันดามันข้ามมายังฝั่งอ่าวไทย โดยไม่ต้องอ้อมไปทางแหลมมลายู แต่เนื่องด้วยความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับอังกฤษที่เป็นเจ้าของกิจการท่าเรือในปีนังและสิงคโปร์โครงการนี้จึงระงับไป

          ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองในสนธิสัญญาสมบูรณ์แบบไทยยินยอมที่จะไม่ขุดคลองคอคอดกระหากไม่ได้รับความยินยอมจากอังกฤษก่อน

          ปรีดี พนมยงค์ได้เสนอให้ขุดคลอง เมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 แต่ยังคงไม่มีการขุดคลองแต่อย่างใดจวบจนปัจจุบัน ซึ่งมีหลายเหตุผลคัดค้านรวมถึงไม่ต้องการให้ประเทศแยกออกเป็นสองส่วนผนวกกับ ประเทศสิงคโปร์กลัวจะเสียผลประโยชน์ด้วย

          ใน พ.ศ. 2544 วุฒิสภาได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระ ผลการศึกษาที่รายงานต่อที่ประชุมมีสาระสำคัญให้เรียกชื่อคลองว่า "คลองไทย" และบริเวณที่ขุดมิใช่คอคอดกระ เนื่องด้วยเหตุผลทางวิศวกรรมศาสตร์ อันได้แก่สภาพพื้นที่ที่ต้องขุดที่คอคอดกระนั้นเป็นหินและภูเขา และความมั่นคงเนื่องจากบริเวณคอคอดกระอยู่ที่ชายแดนพม่าปากแม่น้ำกระบุรี บริเวณที่วุฒิสภาเห็นว่ามีความเป็นไปได้และเกิดประโยชน์สูงสุดในการขุดคลองไทย คือ เส้นทาง 9A ผ่านจังหวัดกระบี่ ตรัง พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา ระยะทาง 120 กิโลเมตร

สภาพพื้นที่คอคอดกระ (เบื้องหลังเป็นเทือกเขาตะนาวศรี)

แผนที่แสดงจุดที่ตั้งของคอคอดกระ ซึ่งเป็นจุดที่นักท่องเที่ยว นิยมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกมากแห่งหนึ่งของ จังหวัดระนอง และใกล้ ๆ แผ่นป้ายคอนกรีตดังกล่าว ยังสามารถชมทิวทัศน์ของแม่น้ำกระบุรี ซึ่งแบ่งพรมแดน ไทย-พม่าได้อย่างชัดเจน

ที่มา : th.wikipedia.org

จังหวัดนครสวรรค์

จังหวัดนครสวรรค์

ตราประจำจังหวัดนครสวรรค์

          จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนล่างของภาคเหนือและตอนบนของภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร นับเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก

ที่ตั้งจังหวัดนครสวรรค์ในประเทศไทย

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

          รูปวิมานอันเป็นที่สิงสถิตของเหล่าเทวดานางฟ้า ความหมายของตราประจำจังหวัด รูปวิมานซึ่งเป็นที่สถิตของชาวสวรรค์ หมายถึง ชื่อครั้งหลังสุดของจังหวัดเป็นเมืองสำคัญในการ รบทัพจับศึกตลอดมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย

- ต้นไม้ประจำจังหวัด: เสลา (Lagerstroemia loudonii)
- คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ

ประวัติศาสตร์


         นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่านครสวรรค์มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ก่อนสุโขทัยเป็นราชธานี มีชื่อในศิลาจารึกของสุโขทัย โดยเรียกว่า เมืองพระบาง เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคญในการทำศึกสงคราม ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี กระทั่งถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังเรียกชื่อว่า เมืองชอนตะวัน และเปลี่ยนเป็น นครสวรรค์ ในที่สุด แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันว่า เมืองปากน้ำโพ ในประวัติศาสตร์มีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่า นครสวรรค์ เคยเป็นเมืองเกษตรกรรมมาตั้งแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม เป็นที่ตั้งของกลุ่มชนชาวจีนที่มาทำมาค้าขายระหว่างประเทศ

          เมืองพระบางเป็นเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยคู่กับเมืองคนที โดยตัวเมืองพระบางอยู่ที่เมืองนครสวรรค์เก่า ส่วนเมืองคนทีสันนิษฐานว่าอยู่ที่บ้านโคน ริมฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร จากข้อมูลในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย เมืองพระบางถูกผนวกรวมกันเข้ากับอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และตั้งตัวเป็นอิสระเมื่อสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และถูกผนวกรวมอีกครั้งในสมัยพระยาลิไท พระองค์ได้ประดิษฐานพระพุทธบาทพร้อมทั้งศิลาจารึกวัดเขากบไว้ที่เขากบ เมืองพระบาง ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ ในสมัยพระมหาธรรมราชาไสลือไทที่ประกาศให้สุโขทัยเป็นเอกราชได้รวมเมืองพระบางไว้ในอาณาเขตด้วย

          เมื่ออำนาจของกรุงศรีอยุธยากล้าแข็งขึ้น เมืองพระบางจึงไปขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาในที่สุด มีหลักฐานในตำนานมูลศาสนาว่าพระญาณคัมภีร์ขอที่สร้างวัดในอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1972 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ไม่อนุญาตจึงมาขอที่ที่เมืองพระบาง เจ้าเมืองพระบางไม่ยกที่ให้ อ้างว่าเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของอยุธยา เมื่ออยุธยาไม่ให้ ทางเมืองพระบางก็ให้ไม่ได้

ปากน้ำโพ

          บ้างเล่าว่าที่เรียกว่า "ปากน้ำโพ" ก็คือว่าเป็นบริเวณที่แม่น้ำปิง และน่านมาบรรจบกัน จึงเรียกว่า "ปากน้ำโผล่" และเพี้ยนมาเป็น "ปากน้ำโพ" ส่วนอีกตำรากล่าวว่า เป็นปากน้ำของแม่น้ำโพ (คือแม่น้ำน่านในปัจจุบัน) ที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง จึงเรียกว่า ปากน้ำโพ ดังเช่น ปากยม ปากชม ปากลัด และปากน้ำอื่น ๆ

ภูมิประเทศ

          สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในดินแดนของลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายหลักของภาคกลาง นั่นคือ แม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็น การไหลบรรจบของแม่น้ำสี่สายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ด้วยเหตุนี้ จังหวัดนครสวรรค์จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เมืองสี่แคว นอกจากนี้ยังมีภูเขาขนาดย่อมกระจัดกระจายในอำเภอต่าง ๆ

หน่วยการปกครอง

          การปกครองแบ่งออกเป็น 15 อำเภอ 130 ตำบล 1328 หมู่บ้าน


1. อำเภอเมืองนครสวรรค์
2. อำเภอโกรกพระ
3. อำเภอชุมแสง
4. อำเภอหนองบัว
5. อำเภอบรรพตพิสัย
6. อำเภอเก้าเลี้ยว
7. อำเภอตาคลี
8. อำเภอท่าตะโก
9. อำเภอไพศาลี
10. อำเภอพยุหะคีรี
11. อำเภอลาดยาว
12. อำเภอตากฟ้า
13. อำเภอแม่วงก์
14. อำเภอแม่เปิน
15. อำเภอชุมตาบง

การปกครองแบ่งออกเป็น 15 อำเภอ


สถานที่สำคัญ



บึงบอระเพ็ด
วัดจอมคีรีนาคพรต
อุทยานสวรรค์
ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม
วัดเกรียงไกรกลาง
วัดศรีสวรรค์สังฆาราม
วัดวรนาถบรรพต
วัดนครสวรรค์
หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
วัดคีรีวงศ์
หอชมเมืองนครสวรรค์
พุทธอุทยานนครสวรรค์
ถ้ำบ่อยา
เมืองโบราณจันเสน
ถนนคนเดิน ตาคลี
พิพิธภัณฑ์จันเสน
วัดถ้ำพรสวรรค์
น้ำตกวังน้ำวิ่ง
เขาถ้ำพระ
ตลาดน้ำวัดบางประมุง
เขาหน่อ-เขาแก้ว
เมืองโบราณเมืองบน-โคกไม้เดน
เมืองโบราณดงแม่นางเมือง
แหล่งโบราณคดีวัดโพธิ์ประสาท
ป่าไพศาลี
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
ทุ่งหินเทิน

เศรษฐกิจ


          จังหวัดนครสวรรค์เป็นศูนย์กลางการคมนาคมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน เพราะเป็นชุมทางของคมนาคมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นถนน รถไฟ หรือทางน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าข้าวกำนันทรง ซึ่งเป็นตลาดกลางค้าข้าวแห่งแรกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่เจริญเป็นอันดับที่ 12 ของประเทศไทย ข้อมูลจากรายชื่อเมืองใหญ่ของประเทศไทยเรียงตามจำนวนประชากร

บุคคลสำคัญ


- สุนัย จุลพงศธร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบสัดส่วน สังกัดพรรคเพื่อไทย
- โชคชัย บัณฑิต นักเขียนรางวัลซีไรต์
- นันทิดา แก้วบัวสาย นักร้อง
- ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ นักเขียนรางวัลซีไรต์ในปี 2535 จากเรื่อง มือนั้นสีขาว
- ประภาวดี เจริญรัตนธารากุล นักกีฬายกน้ำหนักเหรียญทองโอลิมปิก 2008
- อาภาพร นครสวรรค์ นักร้องลูกทุ่งชื่อดัง
- ยุทธนา เปื้องกลาง ตูมตาม thestar7
- อำพร หญ้าผา (นักวอลเล่ย์บอลหญิงทีมชาติไทย)
- ศิริพร อยู่ยอด นักแสดง
- ภาษิต อภิญญาวาท ผู้ประกาศข่าว
- อนาวิน จูจีน นักฟุตบอลสังกัดสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าส
- ภัทร์พิชชา เทวัญอุทัยวงศ์ แคท AF9

ที่มา : th.wikipedia.org


แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา

ต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยาในจังหวัดนครสวรรค์

          แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

ที่มา : th.wikipedia.org


อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

จุดชมวิวสูงสุดแดนสยามในปลายฤดูหนาว อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

          อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย พาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย

          สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ

          ดอยอินทนนท์ เดิมมีชื่อว่า "ดอยหลวงอ่างกา" ต่อมาได้ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าอินทวิชยนนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า

          ในอุทยานนั้นมีสภาพป่าเป็น ป่าดิบเขา ป่าสน ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ มีพันธุ์ไม้ ไม้สัก ไม้ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง มะเกลือ ไม้แดง ไม้ประดู่ ไม้รกฟ้า ไม้มะค่า ไม้เก็ดแดง ไม้จำปีป่า ไม้ตะแบก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีดอกไม้ป่าให้พบเห็นอีกด้วย เช่น ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้านารี และกุหลาบป่าสำหรับมอส ข้าวตอกฤๅษี ออสมันด้า มีอยู่ทั่วไปในระดับสูง

          แต่สัตว์ป่าในเขตอุทยานนั้นมีจำนวนน้อย เนื่องด้วยถูกชาวเขา ล่าไปเป็นอาหาร ปัจจุบันสัตว์ที่หลงเหลือก็มี เลียงผา กวางผา กวาง เสือ หมูป่า หมี ชะนี กระต่ายป่า และ ไก่ป่า

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำตก บ้านขุนกลาง ตามแนวพระราชดำริ โครงการหลวง ดอยอินทนนท์

น้ำตกวชิรธาร

กู่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ยอดดอยอินทนนท์

สูงสุดแดนสยาม ยอดดอยอินทนนท์

พระบรมธาตุนพภูมิศิริ บนยอดดอยอินทนนท์

ที่มา : th.wikipedia.org

ลัทธิชาตินิยม

ลัทธิชาตินิยม


          ชาตินิยม (อังกฤษ: Nationalism) คืออุดมการณ์ที่สร้างและบำรุงรักษาชาติในลักษณะที่เป็นมโนทัศน์ แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มของมนุษย์ ตามบางทฤษฎี การรักษาลักษณะพิเศษของอัตลักษณ์ การเป็นอิสระในทุกๆ เรื่อง การกินดีอยู่ดี และการชื่นชมความยิ่งใหญ่ของชาติตนเอง ล้วนจัดว่าเป็นคุณค่าพื้นฐานของความเป็นชาตินิยม

          นักชาตินิยมวางพื้นฐานของความเป็นชาติอยู่บนแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมทางการเมืองหลายๆ ประการ โดยความชอบธรรมนั้นอาจสร้างขึ้นผ่านทางทฤษฎีโรแมนติกของ "อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม" การให้เหตุผลเชิงเสรีนิยมที่กล่าวว่า ความชอบธรรมทางการเมืองนั้น เกิดจากการยอมรับของประชากรในท้องถิ่นนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นการผสมผสานระหว่างสองสิ่งนี้

          การใช้คำว่า ชาตินิยม ในสมัยใหม่ มักหมายถึงการใช้อำนาจทางการเมือง (และทหาร) ของกลุ่มชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ หรือเชิงศาสนา ดังที่จะได้นิยามต่อไป นักรัฐศาสตร์โดยทั่วไปแล้วมีแนวโน้มที่จะวิจัยและมุ่งเป้าไปที่รูปแบบสุดขั้วของชาตินิยม ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับสังคมนิยมเชิงชาตินิยม การแบ่งแยกดินแดน และอื่น ๆ



จอมพล ป. พิบูลสงคราม

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม


         จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศแปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 - 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป." เป็น นายกรัฐมนตรี ที่มีเวลาดำรงตำแหน่ง รวมกันมากที่สุดของไทย คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

          คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นผู้เผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยมและการปลุกระดมความคลั่งชาติในบางครั้งของจอมพล ป.

ประวัติ

          จอมพล ป. พิบูลสงคราม เดิมชื่อ แปลก ขีตตะสังคะ' เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 เป็นบุตรนายขีด และนางสำอางค์ ขีตตะสังคะ ภริยาคือ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม (เดิมนามสกุล "พันธุ์กระวี")

          จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เข้าศึกษาขั้นต้นที่ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี จากนั้นได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยทหารบก กระทั่งสำเร็จการศึกษา เมื่อ พ.ศ. 2459 ขณะอายุ 19 ปี โดยได้รับยศร้อยตรี และเข้าประจำการที่กองพลที่ 7 จังหวัดพิษณุโลก จากนั้นไม่นานได้สอบเข้าโรงเรียนเสนาธิการได้เป็นที่ 1 และเดินทางไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศฝรั่งเศสและโรงเรียนทหารขั้นสูง ประเทศอิตาลี จนสำเร็จการศึกษา และกลับมารับราชการต่อไป กระทั่งได้ยศพันตรี มีบรรดาศักดิ์และราชทินนาม ที่ "หลวงพิบูลสงคราม"

          เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 พันตรี หลวงพิบูลสงครามได้เข้าร่วมกับคณะราษฎร ในเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยได้เป็นกำลังสำคัญในสายทหาร และเมื่อปี พ.ศ. 2477 ท่านได้เลื่อนยศเป็นพันเอก และดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก

          ครั้นเมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ท่านได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อจากพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา โดยการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในช่วงที่ดำรงตำแหน่งก็ได้เลื่อนยศเป็นพลตรี และเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2484 ภายหลังจากที่กองทัพไทยมีชัยชนะต่ออินโดจีนฝรั่งเศส คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) ได้ประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แก่พลตรีหลวงพิบูลสงคราม ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลยุคนั้นประกาศ รัฐนิยม ก็ได้มีการยกเลิกราชทินนามแบบเก่า ทำให้ท่านใช้ชื่อว่า จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ตั้งแต่นั้นมา โดยนำราชทินนามเดิมมาใช้เป็นนามสกุล

ชีวิตและบทบาททางการเมือง

          จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีชื่อจริงว่า แปลก เนื่องจากเมื่อแรกเกิดบิดามารดาเห็นว่าหูทั้งสองข้างอยู่ต่ำกว่านัยน์ตา ผิดไปจากบุคคลธรรมดา จึงให้ชื่อว่า แปลก เมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งสำคัญ ได้ใช้ชื่อว่า ป. ซึ่งเป็นตัวอักษรย่อเฉกเช่นชื่อของบุคคลสำคัญหลายคนทางประเทศแถบตะวันตก

          จอมพล ป. เป็นหนึ่งในคณะนายทหารผู้ร่วมก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยเป็นนายทหารรุ่นน้องของพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา 2 ปี ที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก มีบทบาทสำคัญเริ่มจากเป็นแกนนำในการรัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 และในการปราบกบฏบวรเดชเมื่อปี พ.ศ. 2476 จนได้รับความไว้วางใจ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อมา

          นับแต่จอมพล ป. ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2481 ได้มีนโยบายในการสร้างชาติ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลัทธิชาตินิยม เช่น ออกกฎหมายคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ มีการสงวนอาชีพบางอย่างไว้เฉพาะคนไทย และปลูกฝังให้ประชาชนนิยมใช้สินค้าไทย ด้วยคำขวัญว่า "ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ" รัฐบาลจอมพล ป. ได้เปลี่ยนแปลงประเพณีและวัฒนธรรมบางอย่าง เพื่อให้สอดคล้องกับการการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และให้เกิดความทันสมัย เช่น ประกาศให้ข้าราชการเลิกนุ่งผ้าม่วง เลิกสวมเสื้อราชปะแตน และให้นุ่งกางเกงขายาวแทน มีการยกเลิกบรรดาศักด์ และยศข้าราชการพลเรือน มีการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก "สยาม" เป็น "ไทย" ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายน เป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล โดยเริ่มเปลี่ยนในปี พ.ศ. 2484 ทำให้ ปี พ.ศ. 2483 มีเพียง 9

          มีการสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมใหม่ โดยจัดตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2485 เพื่อจัดระเบียบการดำเนินชีวิตของคนไทยให้เป็นแบบอารยประเทศ โดยประกาศรัฐนิยมฉบับต่างๆ อาทิ สั่งห้ามประชาชนกินหมากโดยเด็ดขาด ให้ผู้หญิงเลิกนุ่งโจงกระเบน เปลี่ยนมานุ่งผ้าถุงแทน ให้สวมหมวก สวมรองเท้า ไม่ส่งเสริมศิลปะและดนตรีไทยเดิมแต่ส่งเสริมดนตรีสากล ฯลฯ โดยมีคำขวัญในสมัยนั้นว่า "มาลานำไทยสู่มหาอำนาจ" หากผู้หญิงคนใดไม่ใส่หมวกจะถูกตำรวจจับและปรับ และยังวางระเบียบการใช้คำแทนชื่อเป็นมาตรฐาน เช่น ฉัน ท่าน เรา มีคำสั่งให้ข้าราชการกล่าวคำว่า "สวัสดี" ในโอกาสแรกที่พบกัน และมีการตัดตัวอักษรที่ออกเสียงซ้ำกันจึงมีการเปลี่ยนแปลงการสะกดคำมากมาย เช่น กระทรวงศึกษาธิการ เขียนเป็น กระซวงสึกสาธิการ เป็นต้น เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม หลุดจากอำนาจหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ รัฐนิยมก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย อักขรวิธีภาษาไทยได้กลับไปใช้แบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ดี วัฒนธรรมที่สังคมไทยเริ่มรับมาจากตะวันตกหลายรูปแบบในขณะนั้น ยังคงอยู่ต่อมาแม้ว่าจะไม่มีการบังคับใช้ตาม "รัฐนิยม" อีกต่อไป และได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทยสมัยใหม่ไปแล้ว

          ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส จากปัญหาเรื่องการใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ระหว่างไทยกับอินโดจีน ซึ่งอยู่ในครอบครองฝรั่งเศสมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยฝรั่งเศสไม่ยอมตกลงเรื่องการใช้ร่องน้ำลึกเป็นเส้นเขตแดน ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2483 ฝรั่งเศสส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดเมืองนครพนม การรบระหว่างฝรั่งเศสกับไทยจึงเริ่มขึ้น ฝรั่งเศสโจมตีไทยทางอรัญประเทศ รัฐบาล จอมพล ป. ส่งทหารไทยเข้าไปในอินโดจีนทางด้านเขมร แต่ในที่สุดญี่ปุ่นเสนอตัวเข้าไกล่เกลี่ย จนมีการส่งผู้แทนไปลงนามอนุสัญญาโตเกียว เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ในครั้งนั้นไทยได้ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงคืน รวมทั้งทางใต้ตรงข้ามปากเซ คือ แขวงจัมปาศักดิ์ และดินแดนในเขมรที่เสียให้ฝรั่งเศสไปเมื่อปี พ.ศ. 2450 กลับคืนมาด้วย และในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานระลึกถึงชัยชนะของไทยต่อฝรั่งเศส และ 1 ปีต่อมา จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2485

          ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จอมพล ป. ในฐานะนายกรัฐมนตรีไทย ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการประคับประคองประเทศชาติ ให้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้หลายประการ ทั้งนี้มีการบอกเล่ากันว่า ท่านขอพระราชทานยศจอมพลให้กับตนเองเพราะท่านต้องการทำสงครามจิตวิทยากับทางกองทัพญี่ปุ่น หลังสงครามโลกสงบแล้ว ท่านต้องติดคุกระหว่างการถูกไต่สวนในฐานะอาชญากรสงครามอยู่ระยะหนึ่ง ตาม พระราชบัญญัติอาชญากรรมสงคราม ที่รัฐบาลไทยประกาศใช้เป็นกฎหมายหลังสงครามโลก (มีผู้วิเคราะห์ว่า ส่วนหนึ่งเพื่อมิให้ต้องส่งตัวผู้นำรัฐบาลและนายทหารไทยในยุคนั้นไปให้ศาลอาชญากรรมสงครามระหว่างประเทศที่สัมพันธมิตรตั้งขึ้นที่โตเกียวและเนือร์นแบร์กพิพากษาคดี แต่ให้ศาลไทยเป็นผู้พิพากษาแทน อย่างไรก็ดี ศาลไทยได้พิจารณาเห็นว่า กฎหมายย่อมไม่มีผลย้อนหลัง จึงปล่อยตัวท่านเป็นอิสระ หลังจากนั้นท่านก็ได้ประกาศยุติบทบาททางการเมืองทั้งหมด กลับไปใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่บ้านที่ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยปลูกผักต่าง ๆ

          แต่แล้วด้วยความผกผันทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2491 ท่านก็ได้หวนกลับมาคืนสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งจากการทำรัฐประหารของกลุ่มนายทหารที่นับถือท่านอยู่ คราวนี้ดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 9 ปี ผ่านวิกฤตและเหตุการณ์กบฏจนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอดหลายครั้ง เช่น กบฏเสนาธิการ, กบฏวังหลวง, กบฏแมนฮัตตัน รวมทั้งยังเคยยึดอำนาจตัวเองด้วย จึงได้รับฉายาในช่วงที่ยังไม่หลุดจากอำนาจว่า "นายกฯตลอดกาล"

          จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า "จอมพลกระดูกเหล็ก" เพราะมีชีวิตทางการเมืองอย่างเหลือเชื่อ เคยถูกลอบสังหารมาแล้วถึง 3 ครั้ง แต่ก็รอดชีวิตมาได้ทุกครั้ง แม้กระทั่งในเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน ที่ท่านถูกจี้ลงเรือศรีอยุธยา ถูกทิ้งระเบิดผ่านเตียงที่ท่านเคยนอนอยู่อย่างเฉียดฉิว ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์ครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตจำนวนมากนับร้อย จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายในการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของท่าน คือ ในเย็นวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 เมื่อถูกพลเอกสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายทหารรุ่นน้องอีกคนหนึ่งที่ท่านไว้ใจและมอบตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกให้ กระทำการรัฐประหาร ซึ่งท่านได้หลบหนีไปด้วยรถยนต์ส่วนตัวกับผู้ติดตามเพียง 2 คน ไปอย่างหวุดหวิด โดยผ่านไปทางประเทศกัมพูชา ก่อนจะลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง ณ ที่นั่น ท่านและครอบครัวได้รับการต้อนรับอย่างดี ทั้งนี้เพราะทางญี่ปุ่นถือว่าเป็นท่านเป็นผู้ที่บุญคุณต่อญี่ปุ่น ซึ่งเคยยินยอมให้ทหารญี่ปุ่นผ่านเข้าประเทศไทยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองด้วยดี ไม่ต้องมีการสู้รบยืดเยื้ออันรังแต่จะทำให้มีแต่ความสูญเสียด้วยกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งท่านก็ได้พำนักอยู่ที่นั่นจนตราบถึงแก่กรรม

      จอมพล ป. ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ริเริ่มองค์กรและหน่วยงานสำคัญ ๆ ของประเทศหลายองค์กร ที่พัฒนาและเจริญรุ่งเรืองมาจนปัจจุบัน ซึ่งล้วนแต่เป็นหน่วยงานที่มีความเฉพาะของแต่ละวิชาชีพ เช่น รัฐวิสาหกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร รวมทั้งเป็นผู้ที่ใช้อำนาจยึดสถานที่ต่าง ๆ ที่เคยเป็นที่ประทับของเชื้อพระวงศ์ และที่อยู่ของบุคคลสำคัญก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาใช้เป็นสถานที่ราชการ เช่น วังบางขุนพรหม, บ้านมนังคศิลา, บ้านพิษณุโลก, บ้านนรสิงห์ เป็นต้น

บทบาททางสังคม

ผู้ก่อตั้งโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศ



          หลังจากความคิดของเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ในช่วงปี พ.ศ. 2473-พ.ศ. 2475 ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ว่าต้องการที่จะให้ประเทศสยาม มีกิจการแพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 เป็นผลต้องประสบความล้มเหลวในขณะนั้น อย่างไรก็ดีโทรทัศน์ถือกำเนิดขึ้นอีกครั้งภายใต้กรมประชาสัมพันธ์ นับเป็นแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แพร่ภาพออกอากาศในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ในสมัย ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ซึ่งข้าราชการกลุ่มหนึ่งของกรมประชาสัมพันธ์ แสดงความคิดเห็นเรื่องการจัดตั้งโทรทัศน์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2493 ว่า "ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรมี Television แล้ว"

          วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2493 ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ผู้นำรัฐบาลมอบหมายให้ กรมประชาสัมพันธ์เสนอ "โครงการจัดตั้งวิทยุโทรภาพ" ต่อคณะรัฐมนตรี ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2493 คณะรัฐมนตรีลงมติให้จัดตั้งวิทยุโทรภาพและให้ตั้งงบประมาณใน พ.ศ. 2494

          ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2493 จอมพล ป. เขียนข้อความด้วยลายมือ ถึง พล.ต.สุรจิต จารุเศรณี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ในขณะนั้น ให้ศึกษาจัดหาและจัดส่ง "Television"

          วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ซึ่งถือเป็นวันชาติในสมัยนั้น จอมพล ป.พิบูลสงครามได้เป็นประธาน ในพิธีเปิดสำนักงาน และที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 บางขุนพรหม และเริ่มแพร่ภาพออกอากาศอย่างเป็นทางการ เรียกชื่อตามอนุสัญญาสากลวิทยุ HS1/T-T.V. สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกบนผืนแผ่นดินใหญ่แห่งเอเชีย เครื่องส่งโทรทัศน์เครื่องนี้มีกำลังส่ง 10 กิโลวัตต์ ขาวดำ ระบบ 525 เส้นต่อภาพ 30 ภาพต่อวินาที (ปัจจุบันออกอากาศระบบวีเอชเอฟ ช่อง 9 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 และในขณะนี้ใช้ชื่อ โมเดิร์นไนน์ทีวี)

ตลาดนัดกรุงเทพมหานคร

          ในปี พ.ศ. 2491 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ประกาศนโยบายจัดตั้งตลาดนัดทั่วประเทศทุกสุดสัปดาห์ ในกรุงเทพฯ มีการจัดตลาดนัดขึ้นที่สนามหลวง ซึ่งเรียกว่า ตลาดนัดสนามหลวง หรือ ตลาดนัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน ตลาดนัดสนามหลวงได้ย้ายออกไปจากบริเวณสนามหลวงแล้ว โดยไปอยู่ที่ ตลาดนัดจตุจักร แทน

ชื่อสถานที่อันเนื่องด้วยชื่่อ


1. จังหวัดพิบูลสงคราม อดีตจังหวัดของประเทศไทย
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก
3. หอประชุมจอมพล ป.พิบูลสงคราม โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี
4. โรงเรียนชุมชนพิบูลสงคราม จังหวัดนครศรีธรรมราช
5. โรงเรียนพิบูลสงครามอุปถัมภ์ จังหวัดราชบุรี
6. ถนนพิบูลสงคราม จังหวัดนนทบุรี
7. โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม(พิบูลสงคราม) กรุงเทพมหานคร
8. โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร
9. โรงเรียนพิบูลสงเคราะห์๑ จังหวัดลพบุรี
10. โรงเรียนค่ายพิบูลสงคราม จังหวัดลพบุรี
11. โรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี
12. โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี
13. สนามยิงปืนพิบูลสงคราม จังหวัดลพบุรี
14. โรงเรียนนครหลวง(พิบูลประเสริฐวิทย์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
15. ค่ายพิบูลสงคราม กองบัญชาการกองพลทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี
16. พิพิธภัณฑ์จอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใน ศูนย์การทหารปืนใหญ่ จังหวัดลพบุรี
17. สนามกอล์ฟ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายในมณฑลทหารบกที่ 13 จังหวัดลพบุรี
18. โรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ กรุงเทพมหานคร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์



  • Order of the Nine Gems.JPG เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.)
  • Ratana Varabhorn Order of Merit ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.)
  • Order of Chula Chom Klao - 1st Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า (ป.จ.)
  • Order of the White Elephant - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  • Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  • Bravery Medal with wreath (Thailand) ribbon.png เหรียญกล้าหาญ
  • Victory Medal - World War 2 (Thailand).png เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา
  • Victory Medal - Indochina with flames (Thailand).png เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน
  • Dushdi Mala - Military (Thailand).png เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน
  • Dushdi Mala - Civilian (Thailand).png เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
  • Medal for Service in the Interior - Asia (Thailand) ribbon.png เหรียญช่วยราชการเขตภายใน
  • Border Service Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญราชการชายแดน
  • Chakra Mala Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญจักรมาลา
  • King Rama IV Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 1 (อ.ป.ร.1)
  • King Rama IX Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)


ที่มา : th.wikipedia.org

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2556

สงครามโลกครั้งที่สอง

สงครามโลกครั้งที่สอง



          สงครามโลกครั้งที่สอง (อังกฤษ: World War II หรือ Second World War; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นความขัดแย้งทางทหารระดับโลกตั้งแต่ ค.ศ. 1939 ถึง 1945 ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศส่วนใหญ่ในโลก รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด ประเทศผู้ร่วมสงครามรวมตัวกันเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ระหว่างสงครามมีการระดมทหารกว่า 100 ล้านนาย ด้วยลักษณะของ "สงครามเบ็ดเสร็จ" ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักได้ทุ่มเทขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อความพยายามของสงครามทั้งหมด โดยลบเส้นขีดแบ่งระหว่งทรัพยากรของพลเรือนหรือทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และนองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 40 ถึงมากกว่า 70 ล้านคน

          โดยทั่วไปมักถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนี ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 อันนำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของฝรั่งเศสและประเทศส่วนใหญ่ในจักรวรรดิอังกฤษและเครือจักรภพ ภายในหนึ่งปี เยอรมนีก็มีชัยเหนือยุโรปตะวันตกเกือบทั้งหมด คงเหลือเพียงสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพที่ยังเป็นกำลังหลักที่ยังต่อกรกับเยอรมนีทั้งที่เกาะบริเตน แอฟริกาเหนือ และกลางแอตแลนติกอย่างยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 ฝ่ายอักษะบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ฝ่ายจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งกำลังทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1937 ด้วยปรารถนาจะยึดครองเอเชียทั้งหมด จึงฉวยโอกาสโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์และส่งทหารบุกครองหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว

          การรุกคืบของฝ่ายอักษะยุติลงใน ค.ศ. 1942 หลังความพ่ายแพ้ในญี่ปุ่นในยุทธนาวีมิดเวย์ และหลังความพ่ายแพ้ของฝ่ายอักษะยุโรปในอียิปต์และที่สตาลินกราด ใน ค.ศ. 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตร ตลอดจนถึงชัยชนะของสหรัฐอเมริกาในแปซิฟิกได้ทำลายการริเริ่มและส่งผลทำให้ฝ่ายอักษะล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ใน ค.ศ. 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรเปิดแนวรบใหม่ในฝรั่งเศส เช่นเดียวกับสหภาพโซเวียตที่ยึดดินแดนคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร

          สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945

          สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม

ทหารญี่ปุ่นบุกครองจีนในกรณีมุกเดน

ฮิตเลอร์กับมุสโสลินีประกาศอักษะต่อกัน ค.ศ. 1935

ซากปรักหักพังของเมืองเกร์นีกาหลังถูกทิ้งระเบิด

เหยื่อจากการสังหารหมู่กองอยู่ริมฝั่งของแม่น้ำแยงซี ภายหลังยุทธการนานกิง

ทหารโซเวียตในยุทธการคาลคิน โกล

ฮิตเลอร์ประกาศอันชลูสส์ในกรุงเวียนนา

ทหารเยอรมันข้างประตูชัยฝรั่งเศส หลังฝรั่งเศสยอมจำนน

เครื่องบินขับไล่อังกฤษสปิตไฟร์ระหว่างยุทธการบริเตน ความล้มเหลวจากปฏิบัติการดังกล่าวยุติการรุกของเยอรมนีในยุโรปตะวันตก

เครื่องบินขับไล่อังกฤษสปิตไฟร์ระหว่างยุทธการบริเตน ความล้มเหลวจากปฏิบัติการดังกล่าวยุติการรุกของเยอรมนีในยุโรปตะวันตก

ความคืบหน้าของฝ่ายอักษะในสหภาพโซเวียต:
  ปฏิบัติการบาร์บารอสซาถึงวนัที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1941
  ถึงวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1941
  ถึงวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1941
  ถึงวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1941


ทหารโซเวียตขณะตีโต้ตอบกองทัพเยอรมันที่กรุงมอสโก

ยูเอสเอส แอริโซนา (บีบี-39) ถูกเพลิงไหม้หลังญี่ปุ่นโจมตีที่อ่าวเพิร์ล

เครื่องบินดำทิ้งระเบิดอเมริกันระหว่างยุทธนาวีมิดเวย์

ทหารโซเวียตโจมตีอาคารบ้านเรือนระหว่างยุทธการสตาลินกราด ค.ศ. 1943

รถถังครูเซเดอร์ของอังกฤษขณะดำเนินการรุดหน้าในการทัพแอฟริกาเหนือ

ทหารสหรัฐในการสู้รบกับกองทัพญี่ปุ่นบนหมู่เกาะโซโลมอน

ทั้งสองฝ่ายส่งรถถังรวมกว่าแปดพันคันในยุทธการเคิสก์ นับเป็นยุทธการรถถังใหญ่ที่สุดตลอดกาล

การยกพลขึ้นบกของทหารอเมริกันที่อันซิโอ

ทหารอังกฤษขณะทำการยิงปืนครกในยุทธการอิมพัล

การยกพลขึ้นบกที่หาดโอมาฮ่าในแคว้นนอร์มองดีระหว่างปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด

เรือประจัญบาน ยามาโตะ ถูกทิ้งระเบิดใกล้กับฐานปืนใหญ่ด้านหัวเรือ ระหว่างยุทธนาวีอ่าวเลย์เต

ทหารอเมริกันพบกับทหารโซเวียตทางตะวันออกของแม่น้ำเอลเบ

ทหารโซเวียตโบกธงค้อนเคียวเหนืออาคารรัฐสภาไรช์สทักของเยอรมนี ภายหลังจากที่อาคารถูกยึด

ระเบิดปรมาณูซึ่งถูกทิ้งที่เมืองนะงะซากิ

พันธมิตรทางทหารในทวีปยุโรปหลังสงคราม

แผนที่โลกแสดงอาณานิคมหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติเมื่อ ค.ศ. 1945 หลังจากนั้นไม่นาน หลายประเทศได้เรียกร้องเอกราช นำไปสู่การจัดตั้งอิสราเอล ตลอดจนการปลดปล่อยอาณานิคมในเอเชียและแอฟริกา

นักโทษผู้ทรมานในค่ายกักกันเมาน์ธิวเซน-กูเซน ประเทศออสเตรีย ในปี ค.ศ. 1945

ศพคนตายกองทับซ้อนกันในค่าย 731 ซึ่งเป็นหน่วยวิจัยพัฒนาอาวุธชีวภาพของญี่ปุ่น

ภาพทหารกองโจรของโซเวียตในแนวรบด้านตะวันออก

ที่มา : th.wikipedia.org