วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

จังหวัดพังงา

จังหวัดพังงา

ตราประจำจังหวัด

          จังหวัดพังงา เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย

สภาพทางภูมิศาสตร์


          จังหวัดพังงามีเนื้อที่ประมาณ 4,171 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ที่เป็นป่าชายเลนและป่าดงดิบคิดเป็นร้อยละ 57 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมีพื้นที่ติดต่อเรียงตามเข็มนาฬิกาดังนี้

- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดระนอง
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดกระบี่
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดภูเก็ตและทะเลอันดามัน
- ทิศตะวันตก ติดกับมหาสมุทรอินเดีย

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด



- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกจำปูน (Anaxagorea javanica)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: เทพทาโร (Cinnamomum porrectum)
- คำขวัญประจำจังหวัด: แร่หมื่นล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร

หน่วยการปกครอง


          การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 48 ตำบล 314 หมู่บ้าน


1. อำเภอเมืองพังงา
2. อำเภอเกาะยาว
3. อำเภอกะปง
4. อำเภอตะกั่วทุ่ง
5. อำเภอตะกั่วป่า
6. อำเภอคุระบุรี
7. อำเภอทับปุด
8. อำเภอท้ายเหมือง

สถานศึกษา

อุดมศึกษา

- วิทยาลัยชุมชนพังงา
- มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดพังงา

การศึกษาพิเศษ

- ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพังงา

โรงเรียน

- ดูที่ รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดพังงา

ที่มา : th.wikipedia.org


จังหวัดระนอง

จังหวัดระนอง

ตราประจำจังหวัดระนอง

          จังหวัดระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ มีพื้นที่ประมาณ 2,141,250 ไร่ มีพื้นที่ติดต่อทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดชุมพร ทางใต้ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ทางตะวันตกติดกับประเทศพม่าและทะเลอันดามัน มีลักษณะพื้นที่เรียวและแคบ มีความยาวถึง 169 กิโลเมตร และมีความแคบในบริเวณอำเภอกระบุรี เพียง 9 กิโลเมตร

           ระนองเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเรืองอำนาจ เดิมเป็นหัวเมืองขนาดเล็ก เป็นเมืองขึ้นของเมืองชุมพร คำว่าระนอง เพี้ยนมาจากคำว่า แร่นอง เนื่องจากจังหวัดระนอง มีแร่อยู่มากมาย

ภูมิประเทศ


          สภาพภูมิประเทศของระนอง ประกอบด้วยภูเขาสูงในทางทิศตะวันออก และลาดลงสู่ทะเลอันดามันในทางทิศตะวันตก มีแม่น้ำและคลองสำคัญหลายสาย และมีภูเขาสูงสุดคือ ภูเขาพ่อตาโชง
โดง

          แม่น้ำลำคลองที่สำคัญมีดังนี้

- แม่น้ำกระบุรี เป็นแม่น้ำที่กั้นพรมแดนไทย-พม่า มีความยาวประมาณ 95 กิโลเมตร
- คลองลำเลียง มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองปากจั่น ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 30 กิโลเมตร
- คลองวัน ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองกระบุรี มีความยาวประมาณ 20 กิโลเมตร
- คลองละอุ่น ไหลลงสู่แม่น้ำกระบุรี มีความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร
- คลองหาดส้มแป้น มีความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร
- คลองกะเปอร์ มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตร
- คลองกำพวน มีความยาวประมาณ 19 กิโลเมตร

ภูมิอากาศ


          จังหวัดระนองได้ชื่อว่าเป็นเมือง "ฝนแปด แดดสี่" นั่นคือมีฝนตก 8 เดือน และฝนแล้งเพียง 4 เดือน นับว่าเป็นจังหวัดที่ฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากอยู่ติดกับทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อย่างมาก

หน่วยการปกครอง

          การปกครองแบ่งออกเป็น 5 อำเภอ 30 ตำบล 167 หมู่บ้าน

1. อำเภอเมืองระนอง
2. อำเภอละอุ่น
3. อำเภอกะเปอร์
4. อำเภอกระบุรี
5. อำเภอสุขสำราญ


สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกโกมาชุม (Dendrobium formosum)
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: อินทนิล (Lagerstroemia spesiosa)
- คำขวัญประจำจังหวัด: คอคอดกระ ภูเขาหญ้า กาหยูหวาน ธารน้ำแร่ มุกแท้เมืองระนอง ("กาหยู" หมาย-ถึงมะม่วงหิมพานต์)

รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง



ลำดับรายนามชื่อตำแหน่งช่วงเวลาระยะเวลาหมายเหตุ
ปัจจุบันว่าที่ร้อยตรีเชิดศักดิ์ จำปาเทศผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555- ปัจจุบัน

จังหวัดระนอง

อุทยาน


- อุทยานแห่งชาติลำน้ำกระบุรี
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม
- อุทยานแห่งชาติแหลมสน
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกหงาว
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา

ที่มา : th.wikipedia.org

จังหวัดกระบี่

จังหวัดกระบี่

          จังหวัดกระบี่ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของภาคใต้ มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น หาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการัง ถ้ำ และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 100 เกาะ

ตราประจำจังหวัดกระบี่

ที่ตั้ง


          เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 814 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) มีเนื้อที่ 4,708 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขา ที่ดอน ที่ราบ หมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 154 เกาะ อุดมไปด้วยป่าชายเลน ตัวเมืองกระบี่มีแม่น้ำยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไหลผ่านลงสู่ทะเลอันดามันที่ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย มีต้นกำเนิดจากยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่ คือ เขาพนมเบญจา

สภาพภูมิประเทศ

          สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของจังหวัดกระบี่ ทางตอนเหนือประกอบด้วยเทือกเขายาวทอดตัวไปในแนวเหนือใต้ สลับกับสภาพพื้นที่แบบลูกคลื่นลอนลาด และลอนชัน มีที่ราบชายฝั่งทะเลด้านตะวันตก บริเวณทางใต้ มีสภาพภูมิอากาศเป็นภูเขากระจัดกระจาย สลับกับพื้นที่แบบลูกคลื่น ส่วนบริเวณทางตอนใต้สุดและตะวันตกเฉียงใต้ มีสภาพพื้นที่เป็นแบบลูกคลื่นลอนลาดจนถึงค่อนข้างเรียบ และมีภูเขาสูงๆต่ำๆ สลับกันไป บริเวณด้านตะวันตกมีลักษณะ เป็นชายฝั่งติดกับทะเลอันดามันยาวประมาณ 160 กิโลเมตร. ประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่ประมาณ 130 เกาะ แต่เป็นเกาะที่มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 13 เกาะ เกาะที่สำคัญได้แก่ เกาะลันตา เป็นที่ตั้งของอำเภอเกาะลันตา และเกาะพีพี ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมือง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามติดอันดับของโลก บริเวณตัวเมืองมีแม่น้ำกระบี่ ยาวประมาณ 5 กิโลเมตร. ไหลผ่านลงสู่ทะเลอันดามัน ที่ ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย ซึ่งมี่ต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาพนมเบญจา เทือกเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่

สภาพภูมิอากาศ

          จังหวัดกระบี่ มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกชุกตลอดปี และมีเพียง 2 ฤดู คือ - ฤดูร้อน มี 4 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนเมษายน - ฤดูฝน มี 8 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ไปจนถึงเดือนตุลาคม

อาณาเขต

          ทิศเหนือ จด จังหวัดพังงา และ จังหวัดสุราษฎร์ธานีทางด้าน อำเภอปลายพระยา และ อำเภอเขาพนม ทิศใต้ จด จังหวัดตรัง และ ทะเลอันดามัน ทางด้าน อำเภอเกาะลันตา อำเภอเมืองกระบี่ และ อำเภอเหนือคลอง ทิศตะวันออก จด จังหวัดนครศรีธรรมราช และ จังหวัดตรังทางด้าน อำเภอเขาพนม อำเภอคลองท่อม และ อำเภอลำทับ ทิศตะวันตก จด จังหวัดพังงา และ ทะเลอันดามัน ทางด้าน อำเภออ่าวลึก และ อำเภอเมืองกระบี่

ประวัติศาสตร์

          จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานได้ว่าบริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชื่อเมืองกระบี่ว่า อาจมาจากความหมายที่แปลว่าดาบ เนื่องจากมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับการขุดพบมีดดาบโบราณก่อนที่จะสร้างเมือง

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ต้นทุ้งฟ้า

- ตราประจำจังหวัด: รูปกระบี่ไขว้ เบื้องหลังมีภูเขาและทะเล กระบี่ไขว้ หมายถึง อาวุธโบราณซึ่งมีผู้ค้นพบในท้องที่จังหวัด จำนวน 2 เล่ม ภูเขา หมายถึงเทือกเขาพนมเบญจา ซึ่งเป็นภูเขาสูงสุดของกระบี่ ซับซ้อนกันถึง 5 ยอด จึงเรียกว่า พนมเบญจา มีเมฆปกคลุมตลอดเวลา และกั้นเขตแดนกับจังหวัดอื่น ทะเล หมายถึง อาณาเขตอีกด้านหนึ่งของกระบี่ ซึ่งติดกับฝั่งทะเลอันดามันหรือมหาสมุทรอินเดีย
- ต้นไม้ประจำจังหวัด: ทุ้งฟ้า (Acacia catechu)
- คำขวัญประจำจังหวัด: กระบี่เมืองน่าอยู่ ผู้คนน่ารัก
- อักษรย่อจังหวัด : กบ.

หน่วยการปกครอง


          การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 53 ตำบล 374 หมู่บ้าน

1. อำเภอเมืองกระบี่
2. อำเภอเขาพนม
3. อำเภอเกาะลันตา
4. อำเภอคลองท่อม
5. อำเภออ่าวลึก
6. อำเภอปลายพระยา
7. อำเภอลำทับ
8. อำเภอเหนือคลอง


การคมนาคม

         1.โดยรถยนต์ส่วนตัว - จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร-ระนอง-พังงา-กระบี่ ระยะทาง 946 กิโลเมตร - จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ถึงจังหวัดชุมพร จากชุมพรใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอหลังสวน อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าอำเภอเวียงสระใช้ทางหลวงหมายเลข 4035 ถึงอำเภออ่าวลึก แล้ววกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 อีกครั้งหนึ่ง ถึงจังหวัดกระบี่ ระยะทาง 814 กิโลเมตร -จากภูเก็ตการเดินทางโดยรถยนต์จากภูเก็ต ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 และหมายเลข 4 ระยะทาง 176 กิโลเมตร

          2.รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชนบริษัท ลิกไนท์ ทัวร์ สายกรุงเทพฯ-กระบี่ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 11-12 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th ลิกไนท์ทัวร์ โทร. 0 2894 6151-3

ที่มา : th.wikipedia.org


อำเภอสัตหีบ

อำเภอสัตหีบ

อำเภอสัตหีบ

          อำเภอสัตหีบ เป็นอำเภอเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรีห่างจากตัวเมืองชลบุรี 85 กิโลเมตร ความสำคัญของสัตหีบคือเป็นเมืองแห่งฐานทัพเรือและเป็นฐานทัพเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

          อำเภอสัตหีบเป็นอำเภอใต้สุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงดังต่อไปนี้


- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางละมุง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านฉาง (จังหวัดระยอง)
- ทิศใต้ จรดอ่าวไทย
- ทิศตะวันตก จรดอ่าวไทย

ประวัติ


          มีเรื่องเล่ากันว่า ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก

           ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดี มีที่ดินเรือกสวนไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้

           หลายท่านให้ความคิดเห็นว่า "สัตต" แปลว่า เจ็ด "หีบ" หมายถึง หีบ ฉะนั้นคำว่า "สัตหีบ" ก็น่าจะแปลว่า หีบเจ็ดใบ ซึ่งสอดคล้องตามตำนานประวัติเจ้าแม่แหลมเทียนว่าได้นำพระราชาลงในหีบเจ็ดใบเพื่อหลบหนียักษ์ อีกหลักฐานหนึ่งมาจากกองประวัติศาสตร์ทหารเรือระบุว่า เมื่อ พ.ศ. 2464 รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จตรวจเยี่ยมหัวเมืองชายทะเล เพื่อจะสร้างแนวป้องกันชายฝั่งทะเลด้านนอกเพิ่มขึ้น เพราะป้อมพระจุลจอมเกล้าที่ปากน้ำสมุทรปราการนั้นใกล้เมืองหลวงมากเกินไป จึงทรงดำริหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกเป็นที่ตั้งกองทัพเรือ เพื่อตรวจตรารักษาฝั่งและเขตน่านน้ำใหญ่ จึงพระราชทานนามว่า สัตตหีบ เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นเกาะ 7 เกาะ เป็นที่กำบังลมให้แก่หมู่เรือได้ดี คำว่า "สัตหีบ" หมายถึง ที่กำบังเจ็ดแห่ง (หีบ = ที่บัง) อันหมายถึงเกาะต่าง ๆ กล่าวคือ เกาะพระ เกาะยอ เกาะหมู เกาะเตาหม้อ เกาะเณร เกาะสันฉลาม และเกาะเลา

          สัตหีบแยกจากอำเภอบางละมุงเพื่อเป็น กิ่งอำเภอสัตหีบ เมื่อ พ.ศ. 2480 โดยประกอบด้วยตำบลสัตหีบและตำบลนาจอมเทียน และได้รับประกาศแต่งตั้งเป็น อำเภอสัตหีบ เมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2496 ดังปรากฏในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 70 ตอนที่ 17 ลงวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2496 โดยมีนายอำเภอคนแรกชื่อ นายชุมพล อุทยานิก

เหตุการณ์สำคัญ


          8 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 เหตุเครื่องบินทิ้งระเบิด B-24J ประเทศสหรัฐอเมริกาหมายเลข 42-73302 ถูกกองทัพเรือ ยิงตก มีผู้เสียชีวิต 8 คน ถูกจับเป็นเชลย 2 คน ท่ามกลางสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก
19 เมษายน พ.ศ. 2509 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรือใบ ประเภทโอเคขนาด 13 ฟุต ชื่อ "เวก้า" (VEGA) จากวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่เวลา 04.28 น. ข้ามอ่าวไทยไปยังอ่าวเตยงาม ซึ่งมีระยะทางประมาณ 60 ไมล์ทะเล ด้วยพระองค์เองเพียงลำพัง ซึ่งทรงใช้เวลาในการแล่นใบในครั้งนี้ถึง 17 ชั่วโมงเต็ม โดยเสด็จถึงอ่าวเตยงามเมื่อเวลา 21.28 น. โดยได้ทรงนำธง "ราชนาวิกโยธิน" ข้ามอ่าวไทยมาด้วย หลังเสด็จถึง ทรงปักธง "ราชนาวิกโยธิน" เหนือยอดก้อนหินใหญ่ที่ชายหาดของอ่าวเตยงาม ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยบนแผ่นศิลาจารึก เพื่อเป็นสิริมงคลและเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่กองทัพเรือสืบไป

การแบ่งเขตการปกครอง


การปกครองส่วนภูมิภาค

          อำเภอสัตหีบแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 41 หมู่บ้าน ได้แก่


1. สัตหีบ (Sattahip)
2. นาจอมเทียน (Na Chom Thian)
3. พลูตาหลวง (Phlu Ta Luang)
4. บางเสร่ (Bang Sare)
5. แสมสาร (Samaesan)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

           ท้องที่อำเภอสัตหีบประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่

- เทศบาลเมืองสัตหีบ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1-8 ตำบลสัตหีบ และบางส่วนของหมู่ที่ 2 ตำบลพลูตาหลวง
- เทศบาลตำบลนาจอมเทียน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนาจอมเทียน
- เทศบาลตำบลบางเสร่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบางเสร่
- เทศบาลตำบลเขตรอุดมศักดิ์ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 9 รวมทั้งบางส่วนของหมู่ที่ 1-8 ตำบลสัตหีบ
- เทศบาลตำบลเกล็ดแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเสร่ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบางเสร่)
- เทศบาลตำบลเขาชีจรรย์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาจอมเทียน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลนาจอมเทียน)
- องค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพลูตาหลวง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองสัตหีบ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแสมสารทั้งตำบล

เศรษฐกิจ


          ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการและประมงปัจจุบันมีแรงงานภาคอุตสาหกรรมที่ทำงานในนิคมอุตสาหกรรมรอบๆ มาพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะที่อาชีพเสริมได้แก่การเกษตร โดยมีผลผลิตสำคัญ เช่น มันสำปะหลัง มะม่วง ข้าว มะพร้าว อ้อย ทุเรียน กล้วย แตงโม กระท้อน และขนุน

          มีธนาคาร 9 แห่ง ได้แก่


1. ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสัตหีบ
2. ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบ้านอำเภอ
3. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาสัตหีบ
4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาสัตหีบ
5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด สาขาสัตหีบ
6. ธนาคารทหารไทย จำกัด สาขาสัตหีบ
7. ธนาคารธนชาต จำกัด สาขาสัตหีบ
8. ธนาคารออมสิน สาขาสัตหีบ
9. ธนาคารออมสิน สาขาบ้านอำเภอ
10. ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาสัตหีบ
11. ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาพลูตาหลวง

           มีสหกรณ์ออมทรัพย์ ทร. 3 แห่ง ได้แก่


1. สหกรณ์ออมทรัพย์ กองการฝึก กองเรือยุทธการ
2. สหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน
3. สหกรณ์ออมทรัพย์ฐานทัพเรือสัตหีบ

          มีห้างสรรพสินค้า 1 แห่ง

1. ห้าง เทสโก้โลตัส สัตหีบ

การศึกษา



          สถาบันการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และกรมอาชีวศึกษา


1. โรงเรียนมารีวิทย์ สัตหีบ
2. โรงเรียนนาวิกโยธินบูรณะ
3. โรงเรียนสิงห์สมุทร
4. โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม ตำบลนาจอมเทียน
5. โรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา
6. โรงเรียนธัมมสิริศึกษา
7. โรงเรียนบำรุงศิษย์ศึกษา
8. โรงเรียนจุฬเทพบางเสร่
9. โรงเรียนอนุบาลบ้านเตาถ่าน
10. โรงเรียนชุมชนบ้านบางเสร่
11. โรงเรียนเลิศปัญญา
12. โรงเรียนบ้านอำเภอ
13. โรงเรียนราษฏร์ประดิษฐ์วิทยา
14. โรงเรียนวัดนาจอมเทียน
15. โรงเรียนบ้านสัตหีบ
16. โรงเรียนสัตหีบพาณิชยการ บ้านอำเภอ
17. โรงเรียนจอมเทียนบริหารธุรกิจ ตำบลบางเสร่
18. วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ตำบลนาจอมเทียน
19. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี ตำบลนาจอมเทียน
20. โรงเรียนชุมพลทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ที่บ้านเกล็ดแก้ว ตำบลบางเสร่
21. โรงเรียนผู้รู้ ญส.ส.๘๐
22. โรงเรียนสัตหีบ

แหล่งน้ำจืด



1. อ่างเก็บน้ำหนองตะเคียน
2. อ่างเก็บน้ำโรงเรียนชุมพล
3. อ่างเก็บน้ำห้วยตู้ 1-2
4. อ่างเก็บน้ำภูติอนันต์
5. อ่างเก็บน้ำพลูตาหลวง

โรงงานอุตสาหกรรมสำคัญ



1. โรงงานถาวร ตำบลบางเสร่
2. บริษัทบางกอกมารีน ตำบลบางเสร่
3. แอนด์เตอร์เซนเยอร์ทดัส ตำบลบางเสร่
4. ห้างหุ้นส่วนจำกัด พัทยาสโตน (กม.161) ตำบลนาจอมเทียน
5. โรงงานต่อเรือ ตำบลนาจอมเทียน
6. บริษัทสยามทรี ดีเวลลอปเม้นท์ ตำบลพลูตาหลวง
7. บริษัทกาย พี เอ ตำบลพลูตาหลวง
8. บริษัทออย-เท็กซ์ ตำบลพลูตาหลวง
9. ไทยออยล์ทูล แมนชีนเนอร์เซอร์วิส ตำบลพลูตาหลวง
10. สหชัยผลิตภัณฑ์คอนกรีต ตำบลพลูตาหลวง
11. พลูตาหลวง เมทัสเวิร์ก จำกัด ตำบลพลูตาหลวง
12. ดีเจ ออยล์ฟิลด์ เซอร์วิส จำกัด ตำบลพลูตาหลวง
13. พี ยู อาร์ อินดัสเตรียล จำกัด ตำบลพลูตาหลวง
14. ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงน้ำแข็งแสนอุดม ตำบลพลูตาหลวง
15. แอสไพน์จำกัดหรือบริษัทยูนิเวอร์แซล ตำบลพลูตาหลวง

โรงพยาบาล



1. โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ
2. โรงพยาบาลสัตหีบ กม. 10 กระทรวงสาธารณสุข
3. โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม
4. โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ

แหล่งท่องเที่ยว



- สวนนงนุช
- หาดบางเสร่
- หาดบ้านอำเภอ
- หาดเตยงาม
- วัดญาณสังวราราม
- วิหารเซียน
- วัดสัตหีบ
- วัดบางเสร่คงคาราม (วัดในบางเสร่)
- วัดสามัคคีบรรพต (วัดนอกบางเสร่)
- วัดทรงเมตตาวนาราม
- หาดสัตหีบ
- สวนกรมหลวงชุมพรฯ
- หาดนางรำ
- ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล สอ.รฝ.
- หาดทรายแก้ว รร.ชุมพลฯ
- The Beaches สวนน้ำ (กำลังเริ่มโครงการก่อสร้างอยู่ คาดว่าน่าจะเสร็จภายในปี พ.ศ. 2556)
- พระพุทธรูปแกะสลักลายเส้น หน้าผาเขาชีจรรย์
- สวนสมุนไพรพรอุดม
- อุทยานใต้ทะเลเกาะขาม
- พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย
- เรือหลวงจักรีนฤเบศร
- ไร่องุ่นซิลเวอร์เลค ของคุณสุพรรณษา เนื่องภิรมย์


สวนสาธารณะ


1. หนองตะเคียน (ปรับปรุงล่าสุดด้วยงบประมาณ 140 ล้านบาท: พ.ศ. 2550)
2. สวนสำราญในเขตกองเรือยุทธการ
3. สวนสาธารณะเทศบาลเมืองบางเสร่


หน่วยกู้ภัย

- มูลนิธิโรจนธรรมสถาน

ที่มา : th.wikipedia.org


แม่น้ำตาปี

แม่น้ำตาปี

แม่น้ำตาปี ช่วงที่ไหลผ่านเมืองสุราษฎร์ธานี

          แม่น้ำตาปี เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของประเทศไทย มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช และไหลสู่อ่าวไทยที่อ่าวบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี นักปราชญ์ชาวกรีกนามว่าปโตเลมี ได้กล่าวถึง แม่น้ำอัตตาบาส์ ซึ่งหมายถึง แม่น้ำตาปี

ประวัติ

           ชื่อแม่น้ำตาปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2458 โดยมี มหาอำมาตย์โท พระยามหาอำมาตยาธิบดี เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ลงนามสนองฯ ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2458

          เดิมมีชื่อว่า "แม่น้ำหลวง" เพราะมีต้นกำเนิดอยู่ที่ภูเขาหลวงซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขานครศรีธรรมราช อยู่ในเขตพื้นที่ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ไหลผ่านอำเภอฉวาง อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่าน อำเภอพระแสง อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอพุนพิน และไหลออกสู่อ่าวไทยที่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของภาคใต้

          ด้วยแม่น้ำสายนี้ มีความยาวครอบคลุมพื้นที่มาก ชาวพื้นเมือง จึงเรียกชื่อแตกต่างกันไปตามสถานที่ เช่น เมื่อผ่านอำเภอพุนพิน เรียกแม่น้ำท่าข้าม ด้วยความที่เป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดในราชอาณาจักรมณฑลปักษ์ใต้ ตลอดสายแห่งลุ่มแม่น้ำสายนี้จึงอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก การค้าขาย จัดเป็นแม่น้ำสายสำคัญอีกสายหนึ่งของราชอาณาจักรสยามในเวลานั้น

          เมื่อรัชกาลที่ 6 เสด็จไปประทับ ณ พระตำหนักสวนสราญรมย์ ตำบลท่าข้าม ได้พระราชทานชื่อเมืองไชยาเป็นเมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 และมีพระราชดำรัสว่าสมควรที่เปลี่ยนชื่อแม่น้ำในตัวเมืองสุราษฎร์ธานี ตลอดทั้งลำน้ำตั้งปากน้ำที่ออกสู่ทะเล ถึงเกาะปราบ ปากแม่น้ำพุมดวง คลองสินปุน คลองกะเบียด จนถึงสันเขาหลวง ว่า แม่น้ำตาปี

          การตั้งชื่อแม่น้ำนี้ คล้ายกับชื่อแม่น้ำ ตาปติ และ เมืองสุรัฎฐ (สุราษฎร์) ในประเทศอินเดีย ซึ่งแม่น้ำตาปติมีต้นกำเนิดจากภูเขาสัตตปุระ ไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวแคมเบย์ ปากแม่น้ำนี้มีเมืองชื่อว่า สุรัฎฐ์ ตั้งอยู่ ซึ่งสภาพของเมืองทั้งสองอาจคล้ายคลึงกัน ประกอบกับทรงทราบว่า ชาวเมืองไชยาเป็นผู้มีคุณธรรม ตั้งมั่นในพระธรรมศาสนาสอดคล้องกับ ความหมายของคำว่า สุราษฎร์ธานี และได้พระราชทานนามพระตำหนักที่ชาวเมืองสร้างถวายเป็นที่ประทับบนเนินท่าข้ามว่า สวนสราญรมย์ ซึ่งปัจจุบัน เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลสวนสราญรมย์

แม่น้ำตาปี ช่วงที่ไหลผ่าน อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช

คลองสาขา

          แม่น้ำตาปี เกิดจากเทือกเขาหลวงในอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราชไหลผ่าน อำเภอฉวาง อำเภอบ้านนาสาร อำเภอเวียงสระ อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอพระแสง อำเภอเคียนซา อำเภอพุนพิน และอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ไหลออกสู่ทะเลที่อ่าวบ้านดอน แม่น้ำตาปี มีความยาวทั้งหมดประมาณ 232 กิโลเมตร มีคลองสาขาที่สำคัญ 6 สาย ได้แก่


- คลองสินปุน ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกระบี่ ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปี ทางฝั่งซ้ายในตำบลสินปุน อำเภอพระแสง
- คลองอิปัน ต้นน้ำมาจากอำเภอทับปุด จังหวัดพังงา ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปีทางฝั่งซ้ายในตำบลสินปุน อำเภอพระแสง
- คลองพุนพิน แยกจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำตาปี ใกล้สะพานรถไฟพระจุลจอมเกล้า ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน ไปออกทะเลที่อ่าวบ้านดอน
- คลองท่ากูบ ต้นน้ำมาจากบ้านขุนทะเล ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปีทางฝั่งขวา
- คลองมะขามเตี้ย ต้นน้ำมากจากบึงขุนทะเล ไหลมารวมกับแม่น้ำตาปี ทางฝั่งขวาใกล้ตลาดบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
- คลองขวาง แยกจากฝั่งซ้ายตรงกันข้ามกับหน้าตลาดบ้านดอน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ไปบรรจบกับ- - คลองพุนพิน ที่ตำบลลิเล็ด อำเภอพุนพิน
- ยังมีคลองอื่น ๆ เช่น คลองศก ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากอุทยานแห่งชาติเขาสก คลองยัน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง
- คลองพุมดวง เป็นต้น

ความสำคัญทางประวัติศาสตร์


          ใน ราว ค.ศ. 100 - ราว ค.ศ. 178 ปโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีก ได้กล่าวถึง แม่น้ำอัตตาบาส์ หมายถึง แม่น้ำตาปี เป็นเส้นทางเดินทางและเมืองท่าสำคัญ ในหนังสือดาราศาสตร์และภูมิศาสตร์

          จากคลองสาขาที่มาจากจังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา เป็นเส้นทางสำคัญในยุคอาณาจักรศรีวิชัย ที่ชาวต่างชาติใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงสินค้าจากทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย ขึ้นฝั่งยังบริเวณอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา มาสู่อ่าวไทยที่บริเวณปากแม่น้ำพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีเส้นทางที่สำคัญอย่างน้อย 4 เส้นทาง คือ


1. จากทุ่งตึกผ่านทางคลองเหล ผ่านมาทางเขาสก เข้าคลองพุมดวง เข้าแม่น้ำตาปี และมาออกที่อ่าวบ้านดอน
2. จากคณะมะรุ่ยผ่านทางคลองชะอุ่น คลองสก คลองพุมดวง แม่น้ำตาปี แล้วออกทางอ่าวบ้านดอน
3. จากคลองปกาสัย ผ่านคลองโตรม คลองอิปัน ออกแม่น้ำตาปี แล้วต่อมาออกอ่าวบ้านดอน
4. จากคลองท่อมผ่านคลองสินปุน ออกแม่น้ำตาปี และอ่าวบ้านดอน

การใช้ประโยชน์


          ปัจจุบัน แม่น้ำตาปี ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ทั้งการอุปโภค บริโภค และการนันทนาการท่องเที่ยว

- เขื่อนรัชชประภา

          เป็นเขื่อนผลิตพลังงานไฟฟ้า กั้นแม่น้ำตาปีบริเวณต้นน้ำคลองศก ระดับน้ำในเขื่อนสูงสุดที่ 100 เมตร นำน้ำที่เก็บไว้สำหรับการผลิตไฟฟ้า และการชลประทานสำหรับพื้นที่อำเภอพนม และอำเภอคีรีรัฐนิคม

- ล่องแก่งคลองยัน-คลองศก

          ในอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง ได้จัดกิจกรรมล่องแก่งชมธรรมชาติสองข้างทางของคลองยันที่ไหลผ่านบริเวณพื้นที่อุทยาน และในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาสก มีเอกชนจ้ดกิจกรรมล่องห่วงยางไปตามลำน้ำคลองสก เป็นกิจกรรมนันทนาการท่องเที่ยวในพื้นที่

- การอุปโภคบริโภค

          โดยนำน้ำจากแม่น้ำตาปี เป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำประปา นอกจากนี้ยังมีโรงงานที่ตั้งขึ้นสองฝั่งแม่น้ำที่ใช้น้ำจากแม่น้ำตาปี ในการอุปโภคและบริโภคจำนวนมาก

ที่มา : th.wikipedia.org